178 Dharmniti Building 6-7th Floor, Soi Permsap (Prachachuen 20), Prachachuen Road, Bangsue, Bangkok, 10800 Thailand

Audit News

การตัดหนี้สูญตามกฎหมายฉบับใหม่ปี 2564

Written by

 การตัดหนี้สูญตามกฎหมายฉบับใหม่

ท่ามกลางการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ส่งผลให้ผู้ประกอบการตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็ก ถึงขนาดใหญ่ ต่างก็ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งอาจมีบางธุรกิจที่ต้องปิดกิจการลง ดังนั้นเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการตัดหนี้สูญได้ในจำนวนที่มากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดบางข้อเพื่อให้การตัดหนี้สูญมีความรวดเร็วมากขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องคดี กระทรวงการคลังจึงได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 374 ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 ให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังไปถึงรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป และกฏกระทรวงฉบับนี้ ยอมให้นำหนี้สูญที่เกิดขึ้นนอกประเทศโดยมีคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศมาตัดเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เช่นเดียวกันกับกรณีที่มีการฟ้องร้องในศาลไทย กฎกระทรวงฉบับนี้จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพได้มีโอกาสการลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงของกฎกระทรวงฉบับเดิมและฉบับใหม่ในเรื่องที่สำคัญมีดังนี้

 

กฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)  กฎกระทรวง ฉบับที่ 374 (พ.ศ. 2564) 

ข้อ 3 หนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้ต้องเป็นหนี้ที่มีลักษณะ ดังนี้
1. ต้องเป็นหนี้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ หรือหนี้ที่ได้รวมเป็นเงินได้ในการคำนวณกำไรสุทธิทั้งนี้ไม่รวมหนี้ที่ผู้เป็น หรือเคยเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นลูกหนี้ไม่ว่าหนี้นั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือในขณะที่ผู้นั้นเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ

2. ต้องเป็นหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความและมีหลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้

 

ข้อ 3 หนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้ต้องเป็นหนี้ที่มีลักษณะ ยังคงเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง

 

 

 

 

 

ข้อ 4 ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 500,000 บาท หนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้นอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ 3 แล้วต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ได้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้งและไม่ได้รับชำระหนี้ โดยปรากฏว่า 

      (ก) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไปและไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ที่จะชำระหนี้ได้

 

      (ข) ลูกหนี้เลิกกิจการและมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้

 

ข้อ 4 ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 2,000,000 บาท หนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้นอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ 3 แล้วต้องมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย

ข้อ (1) ยังคงเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง

 

 

 

 

 

 

 

 

กฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)  กฎกระทรวง ฉบับที่ 374 (พ.ศ. 2564) 

(2) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง และในกรณีนั้น ๆ ได้มีบังคับหรือคำสั่งของศาลแล้วแต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ที่จะชำระหนี้ได้ หรือ

(3) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และในกรณีนั้น ๆ ได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้โดยศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว

 

 

 

(2) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง โดยได้มีหมายบังคับคดีของศาลแล้วและมีรายงานการบังคับคดีครั้งแรกของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันสามารถแสดงได้ว่าได้มีการดำเนินการบังคับคดีแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดจะชำระหนี้ได้

(3) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย หรือในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายโดยได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้โดยศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้วหรือศาลได้มีคำสั่งปิดคดีแล้ว

 

 

ข้อ 5 ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท หนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้นอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ 3 แล้วต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ได้ดำเนินการตามข้อ 4 (1) แล้ว

(2) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้วหรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำขอนั้นแล้ว หรือ

(3) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้วหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับคำขอรับชำระหนี้นั้นแล้ว

ข้อ 5 ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 2,000,000 บาท หนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้นอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ 3 แล้วต้องมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย

ข้อ (1) ยังคงเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ข้อ (2) ยังคงเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง

(3) ได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้ว หรือในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้วหรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลายและ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลแล้วแต่กรณี ได้มีคำสั่งรับคำขอรับชำระหนี้นั้นแล้ว

 

 

กฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)  กฎกระทรวง ฉบับที่ 374 (พ.ศ. 2564) 

ข้อ 6 การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของธนาคาร หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์

ในข้อ 4 หรือ ข้อ 5 ถ้าปรากฎว่าได้มีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้ว แต่ไม่ได้รับชำระหนี้และหากจะฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชำระ

ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับสำหรับการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นที่มิใช่ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนดังกล่าว ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาทด้วย

 

ข้อ 6 ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท และมีลักษณะตามข้อ 3 การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ให้กระทำได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 หรือ ข้อ 5 ถ้าปรากฎว่าได้มีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้ว แต่ไม่ได้รับชำระหนี้และหากจะฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชำระ

 

 

 

 

 

 

 

 ดิฉันและทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความข้างต้นจะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการในธุรกิจต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19   สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติให้ถูกต้องและใช้สิทธิทางภาษีได้อย่างครบถ้วน 

 

ผู้เขียน : กาญจนา  ชาวชัยนาท บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด

 

 

Transparency Report

Read our 2024 Transparency Report

transparency