สินทรัพย์ดิจิทัล
สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets) เป็นสิ่งที่เราได้พบเจอในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น และเป็นสิ่งใหม่ที่นักบัญชีต้องมีการรับมือให้เข้าใจถึงขอบเขต การรับรู้รายการ การวัดมูลค่า และการเปิดเผยข้อมูล
โดยสิ่งที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ประกอบด้วย
(1) การทำความเข้าใจพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
(2) การทำความเข้าใจตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
การทำความเข้าใจพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561) เป็นกฎหมายภายใต้การกับดูแลของ ก.ล.ต. เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน ลดความเสี่ยงจากการถูกหลอกหรือถูกเอาเปรียบ สร้างความชัดเจนในการกำกับดูแลให้ผู้ที่ต้องการใช้เครื่องมือนี้โดยสุจริตสามารถทำได้ และป้องกันการฟอกเงินหรือใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในทำงานไม่สุจริต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแลเรื่อง
(1) การระดมทุนต่อประชาชนผ่านการเสนอขายโทเคนดิจิทัล
(2) การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
(3) การดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล
ทั้งนี้ พ.ร.ก. ฉบับนี้ กำหนดให้สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets) หมายความว่า (1) คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และ (2) โทเคนดิจิทัล (Digital Token) โดยให้คำนิยามไว้ดังนี้
สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets) |
|
คริปโทเคอร์เรนซี(Cryptocurrency) |
โทเคนดิจิทัล (Digital Token) |
คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีความประสงค์ที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลและหมายความรวมถึงหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่น ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดเพิ่มเติม โดยตัวอย่างของคริปโทเคอร์เรนซีที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น บิทคอยน์ (Bitcoin) เป็นต้น |
คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ - โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกำหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใดๆ เช่น SIRI Hub Token เป็นต้น - โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) คือหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าบริการ หรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง เช่น BinanceCoin (BNB), Bitkub (KUB) เป็นต้น
ทั้งนี้ตามที่กำหนดในข้อตกลงระหว่างผู้ออกและผู้ถือและหมายความรวมถึงหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดเพิ่มเติม |
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ออกประกาศกำหนดให้คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ที่ผู้ออกมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนจากประชาชนและมีการกำหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ หรือมีการกำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใด ๆ ถือเป็นโทเคนดิจิทัล (Digital Token) ด้วย
การระดมทุนต่อประชาชนผ่านการเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO)
ICO หรือชื่อเต็มคือ Initial Coin Offering คือการระดมทุนแบบดิจิทัลด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ผ่านระบบบล็อกเชนต่อสาธารณชน โดยผู้ระดมทุนจะเป็นผู้ออกโทเคนดิจิทัล มาแลกกับเงินดิจิทัล (cryptocurrency) การระดมทุนด้วย ICO สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
- ผู้ระดมทุนกระทำได้เฉพาะนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
- ผู้ระดมทุนต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.
- ผู้ระดมทุนต้องมีการจัดทำมีแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัล และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับแล้ว
- ต้องเสนอขายผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. เท่านั้น
- รับคริปโทเคอร์เรนซีจากธุรกิจสินทรัพย์ดิจิตอลที่ได้รับอนุญาต
- ผู้ลงทุนต้องมีคุณสมบัติและวงเงินลงทุนได้ตามที่กำหนด
การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ในปัจจุบันมีอยู่ 5 ประเภททั้งการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี และ โทเคนดิจิทัล ได้แก่
(1) ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange) คือ ศูนย์กลางหรือเครือข่ายใด ๆ ที่จัดให้มีขึ้นเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล โดยการจับคู่หรือหาคู่สัญญาให้ หรือการจัดระบบหรืออำนวยความสะดวกให้ผู้ซึ่งประสงค์จะซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถทำความตกลงหรือจับคู่กันได้โดยกระทำเป็นทางค้าปกติ แต่ทั้งนี้ไม่รวมศูนย์กลางหรือเครือข่ายในลักษณะที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
(2) นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Broker) คือ บุคคลซึ่งให้บริการหรือแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะให้บริการเป็นนายหน้าหรือตัวแทน เพื่อซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลให้แก่บุคคลอื่นโดยกระทำเป็นทางค้าปกติและได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น แต่ไม่รวมถึงการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนในลักษณะที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
(3) ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Dealer) คือ บุคคลซึ่งให้บริการหรือแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะให้บริการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลในนามของตนเองเป็นทางค้าปกติ โดยกระทำนอกศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ไม่รวมถึงการให้บริการในลักษณะตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
(4) ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล (investment advisor) และ (5) ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (fund manager) ต้องได้รับใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนด
การดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล
ผู้ที่จะสามารถประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลข้างต้นได้ จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ซึ่งในการยื่นขออนุญาตและการพิจารณาอนุญาต เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมถึงเสียค่าธรรมเนียมตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ซึ่งในการพิจารณาอนุญาต รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องปฏิบัติด้วย ทั้งนี้ผู้ที่จะประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเพียงประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทได้ภายหลังจากได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (“ผู้ประกอบธุรกิจฯ”) มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ภายใต้ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ และกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนดโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ด้วย
การทำความเข้าใจตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 กำหนดให้การจัดทำบัญชีต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี แต่ไม่มีมาตรฐานการบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลโดยตรงนั้น สภาวิชาชีพบัญชีได้ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการบัญชีที่รองรับสินทรัพย์ดิจิทัลโดยอ้างอิงจาก Agenda Decision (AD) ของ IASB เปรียบเสมือนข้อหารือเกี่ยวกับมาตรฐานบัญชี ซึ่งได้ให้แนวทางนำสำหรับกิจการผู้จัดทำงบการเงินในประเทศไทย สามารถประยุกต์ใช้แนวทางนี้ ในการรับรู้รายการ การวัดมูลค่า และการเปิดเผยข้อมูล ดังนี้
คำนิยามของคริปโทเคอร์เรนซี IASB ต้องมีลักษณะทุกข้อดังต่อไปนี้เท่านั้น
(1) เป็นสกุลเงินดิจิทัลหรือสกุลเงินเสมือนซึ่งถูกบันทึกอยู่บนการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ที่ใช้วิทยาการเข้ารหัสลับเพื่อความปลอดภัย
(2) ต้องไม่ได้ออกโดยหน่วยงานกำกับดูแลหรือหน่วยงานอื่น
(3) ต้องไม่ได้ก่อให้เกิดสัญญาระหว่างผู้ถือกับอีกฝ่ายหนึ่ง **คริปโทเคอร์เรนซีตามลักษณะข้างต้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงสินทรัพย์ดิจิทัลที่นิยามไว้ในพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ดังนั้นผู้ถือสินทรัพย์ดิจิทัลจึงควรวิเคราะห์ลักษณะและเงื่อนไขของสินทรัพย์ดิจิทัลว่ามีลักษณะข้างต้นหรือไม่ก่อนประยุกต์ใช้แนวทางใน Agenda Decision ฉบับนี้
ตามที่ IASB ไม่ได้มีการออกมาตรฐานใหม่ออกมาสำหรับคริปโทเคอร์เรนซี เนื่องจากมาตรฐานเดิมครอบคลุมอยู่แล้ว จึงมีการเปรียบเทียบว่าคริปโทเคอร์เรนซีเข้านิยามของมาตรฐานฉบับใด ดังนี้
คริปโทเคอร์เรนซีที่ถือเป็นรายการ “สินทรัพย์ไม่มีตัวตน” ตาม IAS38 ต้องมีลักษณะทุกข้อดังต่อไปนี้เท่านั้น
(1) สามารถแยกเป็นเอกเทศได้จากผู้ถือ และสามารถขายหรือโอนได้โดยเอกเทศ
(2) ไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้ถือที่จะได้รับจำนวนเงินที่กำหนดได้แน่นอนหรือจำนวนเงินที่สามารถทราบได้ในจำนวนหน่วยของสกุลเงิน (ไม่เป็นจำนวนเงิน)
(3) ไม่มีลักษณะทางกายภาพ
คริปโทเคอร์เรนซีไม่ถือเป็นรายการ “เงินสด” หรือ “สินทรัพย์ทางการเงิน”ตาม IAS 32 เป็นไปตามทุกข้อดังนี้
(1) ไม่มีลักษณะของ “เงินสด” เนื่องจากไม่เข้านิยามเงินสด จากการที่ไม่สามารถนำมาใช้ในการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ และใช้เป็นหน่วยเงินตราในการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการในการวัดมูลค่าและรับรู้รายการทั้งหมดในงบการเงินได้
(2) ไม่ถือเป็นรายการ ”สินทรัพย์ทางการเงิน” เนื่องจากไม่เข้านิยามตราสารทุนของกิจการอื่น รวมถึงไม่ได้ทำให้เกิดสิทธิตามสัญญาแก่ผู้ถือ และไม่ใช่สัญญาที่จะหรืออาจจะชำระด้วยตราสารทุนของผู้ถือ
เนื่องจาก IAS38 ไม่ได้ครอบคลุมถึงสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ไปอยู่ในมาตรฐานเฉพาะเรื่องนั้น ๆ เช่น สินทรัพย์ทางการเงิน เป็นต้น และจากข้อมูลข้างต้นคริปโทเคอร์เรนซีไม่เข้านิยามของสินทรัพย์ทางการเงิน จึงต้องกลับมาใช้นิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เว้นแต่มีวัตถุประสงค์ถือไว้เพื่อขายให้จะเข้านิยามสินค้าคงเหลือ ตาม IAS 2
การพิจารณามาตรฐานการรายงานทางการเงิน ต้องพิจารณาควบคู่กับวัตถุประสงค์ในการถือสินทรัพย์ดิจิทัลประกอบด้วย ดังนี้
PAEs |
||||||||
คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และ โทเคนดิจิทัล (Digital Token) |
||||||||
ความสัมพันธ์ทางสัญญา |
ไม่มีสัญญา
|
สัญญาจ่ายเงิน/สินทรัพย์ทางการเงิน ที่มีสิทธิจะได้รับเงินปันผลหรือส่วนได้เสียในมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ |
มีสิทธิ์ที่จะได้รับสินค้าหรือบริการ
|
|||||
ประเภทสินทรัพย์ดิจิทัล |
Cryptocurrency = BTC (Bitcoin), ETH (Ethereum)
|
มีสินทรัพย์หนุนหลัง (Cryptocurrency Stable Coin) = USDT
|
โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token ) = SIRIHUB, DESTINY TOKEN
|
โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) = JFIN COIN |
||||
วัตถุประสงค์ |
ลงทุนถือครองเพื่อขาย |
ลงทุนไม่ได้ถือครองไว้เพื่อขาย |
เพื่อระดมทุน |
เพื่ออุปโภค/บริโภค |
เพื่อลงทุน |
|||
เข้านิยาม |
สินค้าคงเหลือ (TAS2) |
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (TAS 38) |
สินทรัพย์ทางการเงิน (TFRS9 |
เงินจ่ายล่วงหน้า (Prepayment) |
เป็นไปตามการรับรู้รายการของคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency |
|||
หนี้สินทางการเงิน |
ตราสารทุน |
|||||||
การวัดมูลค่า |
ราคาทุน (Cost) หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (NRV) แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า (เว้นแต่กิจการทำหน้าที่เป็นนายหน้าผู้ค้าสินค้าโภคภัณฑ์ ต้องวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย) (Fair Value less Cost to Sell) |
- วิธีราคาทุนหักด้อยค่า (Cost less impairment) - วิธีการตีราคาใหม่ (Revaluation - FVOCI non-recycling)
|
- วิธีราคาทุนตัดจำหน่าย(Amortized cost/FVOCI (SPPI test)) - วิธีมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน (FVPL)
|
- วิธีมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน (FVPL) - วิธีมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (FVOCI)
|
ราคาทุน (Cost)
|
|||
การเปิดเผยข้อมูล |
ตาม TAS2 |
ตาม TAS38 |
ตาม TFRS9 |
|
||||
NPAEs |
||||||
คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และ โทเคนดิจิทัล (Digital Token) |
||||||
ความสัมพันธ์ทางสัญญา |
ไม่มีสัญญา
|
สัญญาจ่ายเงิน/สินทรัพย์ทางการเงิน ที่มีสิทธิจะได้รับเงินปันผลหรือส่วนได้เสียในมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ |
มีสิทธิ์ที่จะได้รับสินค้าหรือบริการ
|
|||
ประเภทสินทรัพย์ดิจิทัล |
Cryptocurrency = BTC (Bitcoin), ETH (Ethereum)
|
มีสินทรัพย์หนุนหลัง (Cryptocurrency Stable Coin) = USDT
|
โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token ) = SIRIHUB, DESTINY TOKEN
|
โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) = JFIN COIN |
||
วัตถุประสงค์ |
ลงทุนถือครองเพื่อขาย |
ลงทุนไม่ได้ถือครองไว้เพื่อขาย |
เพื่อระดมทุน |
เพื่ออุปโภค/บริโภค |
เพื่อลงทุน |
|
เข้านิยาม |
สินค้าคงเหลือ (TFRS for NPAEs บทที่ 8) |
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (TFRS for NPAEs บทที่ 3 และบทที่ 11) |
เงินลงทุน (TFRS for NPAEs บทที่ 9) |
เงินจ่ายล่วงหน้า (Prepayment) |
เป็นไปตามการรับรู้รายการของคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency |
|
ตราสารหนี้ |
ตราสารทุน |
|||||
การวัดมูลค่า |
ราคาทุน (Cost) หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (NRV) แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า
กรณีสูงกว่าราคาทุน : ไม่บันทึกบัญชี กรณีตำกว่าราคาทุน : ขาดทุนจากการวัดมูลค่า(NRV)(PL)
|
วิธีราคาทุน (Cost) (เนื่องด้วยมีลักษณะที่พิเศษกว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นๆ รวมถึงมีอายุการให้ประโยชน์ที่ไม่สามารถทราบได้แน่นอน กิจการต้องพิจารณาลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลในงบการเงิน ตลอดจนพิจารณาการลดลงของมูลค่าของสินทรัพย์ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักความระมัดระวังประกอบด้วย)
กรณีสูงกว่าราคาทุน : ไม่บันทึกบัญชี กรณีตำกว่าราคาทุน : ขาดทุนจากการด้อยค่า (PL |
- ตราสารหนี้ที่ตั้งใจถือจนครบกำหนดและตราสารหนี้ที่ไม่ได้อยู่ในความต้องการของตลาด วัดมูลค่าด้วยวิธีราคาทุนตัดจำหน่าย (Amortized cost) - ตราสารหนี้ที่ไอยู่ในความต้องการของตลาดวิธีมูลค่ายุติธรรม เพื่อค้าผ่านกำไรขาดทุน และเผื่อขายไปยังส่วนของเจ้าของ
|
- หลักทรัพย์เพื่อค้ามูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุน - หลักทรัพย์เผื่อขายมูลค่ายุติธรรมไปยังส่วนของเจ้าของ
|
ราคาทุน (Cost)
|
|
การเปิดเผยข้อมูล |
TFRS for NPAEs ย่อหน้าที่ 103 ของบทที่ 8 |
1. นโยบายการบัญชีในการวัดมูลค่ารายการ 2. ข้อบ่งชี้ว่ามีมูลค่าลดลงอย่างถาวร (ถ้ามี |
TFRS for NPAEs ย่อหน้าที่ 122 ของบทที่ 9
|
|
อ้างอิง
เข้าถึงวันที่ 16/9/2565
1. e-Magazine ฉบับที่ 120 เดือนมีนาคม 2565 DBD Accounting (http://magazine.dbd.go.th/admin/readebook/M65083)
2. คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับการถือครองคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrencies) สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) - สภาวิชาชีพบัญชี
(https://acpro-std.tfac.or.th/test_std/uploads/files/Q%E0%B8%BFA_Crypto_NPAEs.pdf)
3. รู้เขา รู้ระวัง รู้เท่าทัน สินทรัพย์ดิจิทัล – ก.ล.ต.
https://www.sec.or.th/TH/Documents/DigitalAsset/DigitalAssetInvestment-Guide.pdf
4. การเสวนา ภาพรวมการตรวจสอบงบการเงินที่มีสินทรัพย์ดิจิทัล (Facebook Live สภาวิชาชีพบัญชี) https://www.facebook.com/events/2208213125999962/?acontext=%7B%22ref%22%3A%2252%22%2C%22action_history%22%3A%22[%7B%5C%22surface%5C%22%3A%5C%22share_link%5C%22%2C%5C%22mechanism%5C%22%3A%5C%22share_link%5C%22%2C%5C%22extra_data%5C%22%3A%7B%5C%22invite_link_id%5C%22%3A392767892367276%7D%7D]%22%7D และ https://www.tfac.or.th/upload/9414/WWozPuwFe4.pdf
5. คุยสบายๆ รายการบัญชี และกรณีตัวอย่างข้อผิดพลาด และรายการผิดปกติในงบการเงิน รุ่นที่ 2/2565 - สภาวิชาชีพบัญชี https://www.tfac.or.th/upload/9414/4h9WsP2C6u.pdf