ปัจจุบันการขายสินค้าออนไลน์มีการเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นยุคที่มีการซื้อขายกันอย่างรวดเร็ว เพียงปลายนิ้วสัมผัส โดยช่องทางในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น Facebook, TikTok, Instagram, Twitter, Line shopping ,Shopee และ Lazada โดยสามารถช๊อปปิ้งได้ตลอดเวลา ไม่จำเป็นจะต้องเดินทางไปซื้อสินค้าที่หน้าร้านเหมือนในอดีต
แม่ค้าหรือพ่อค้าออนไลน์มีสิทธิและหน้าที่ในการเสียภาษีเช่นเดียวกับผู้ประกอบการอื่น ๆ ต้องนำรายได้นั้นมารวมคำนวณเพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ โดยการยื่นแบบภาษีและการเสียภาษีไม่มีการกำหนดอายุผู้เสียภาษี นั้นหมายความว่าเมื่อใดก็ตามที่คุณมีรายได้นั้นคุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษี
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกันแม่ค้าออนไลน์
- การจดทะเบียนพาณิชย์ >> โดยผู้ที่เปิดร้านขายสินค้าออนไลน์ จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายนี้บังคับทั้งการขายสินค้าออนไลน์แบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ทั้งแบบมีหน้าร้านและไม่มีหน้าร้าน หากไม่ทำตามมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท และปรับไม่เกินวันละ 100 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
- กฎหมายภาษี e-Payment (ภาษีอีเพย์เมนต์) หรือพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ.2562 ได้มีการประกาศราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2562 เป็นต้นไป
สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือการกำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-wallet ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากรทราบ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ โดยบัญชีธุรกรรมเฉพาะจะต้องมีเงื่อนไข ดังนี้
- มียอดเงินฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชี ตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่าจะรับครั้งละกี่บาทก็ตาม
- ฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไขทั้งจำนวนครั้ง และจำนวนมูลค่าของเงินที่รับฝากหรือโอน
ทั้งนี้การนับจำนวนครั้งและจำนวนเงิน นับตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค. ของทุกปี
ตามกฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ ไม่ได้ทำให้เจ้าของธุรกิจต้องยื่นแบบเพื่อเสียภาษีเพิ่มขึ้นแต่เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่หน่วยงานภาครัฐจะใช้ในการตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษีว่ามีการยื่นภาษีโดยถูกต้องหรือไม่
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
โดยการขายสินค้าออนไลน์ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ 40 (8) ได้แก่ เงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ โดยสรรพากรได้มีข้อกำหนดตามกฎหมาย มีวิธีการคำนวณภาษี 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 : (เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี ตามอัตราขั้นบันได
สำหรับการหักค่าใช้จ่ายมี 2 แบบ ดังนี้
กรณีที่ 1 หักค่าใช้จ่ายตามจริง >> จะต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายรวมถึงการเก็บหลักฐานไว้ให้ครบถ้วนเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบข้อมูลจากกรมสรรพากร
กรณีที่ 2 หักค่าใช้จ่ายตามอัตราเหมาในอัตราร้อยละ 60
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่ |
เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น |
อัตราภาษี |
ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ |
ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น |
0 - 150,000 |
150,000 |
5 |
ยกเว้น* |
0 |
เกิน 150,000 - 300,000 |
150,000 |
5 |
7,500 |
7,500 |
เกิน 300,000 - 500,000 |
200,000 |
10 |
20,000 |
27,500 |
เกิน 500,000 - 750,000 |
250,000 |
15 |
37,500 |
65,000 |
เกิน 750,000 - 1,000,000 |
250,000 |
20 |
50,000 |
115,000 |
เกิน 1,000,000 - 2,000,000 |
1,000,000 |
25 |
250,000 |
365,000 |
เกิน 2,000,000 - 5,000,000 |
3,000,000 |
30 |
900,000 |
1,265,000 |
เกิน 5,000,000 บาท ขึ้นไป |
|
35 |
|
|
วิธีที่ 2 : เงินได้ x 0.005
โดยให้คำนวณภาษีจาก 2 วิธีแล้วให้ชำระจากยอดที่มากกว่าเว้นแต่คำนวณภาษวีธีที่ 2 แล้วมีภาษีไม่เกิน 5,000 บาท ให้ชำระตามวิธีที่ 1
- กรณีผู้ประกอบการมีรายได้ในปีภาษีมากกว่า 1,800,000 บาท ต้องไปจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในประเทศไทย หรือผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม
ฐานภาษีของภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ มูลค่าที่ได้รับและจ่ายจากการขายและซื้อสินค้า
ภาษีขายและภาษีซื้อ = ฐานภาษี X อัตราภาษีร้อยละ 7
ภาษีที่ต้องชำระ = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
ผู้เขียน : น.ส. นันทวรรณ อดุลย์อุดมสิริ บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด