178 Dharmniti Building 6-7th Floor, Soi Permsap (Prachachuen 20), Prachachuen Road, Bangsue, Bangkok, 10800 Thailand

Audit News

เตรียมความพร้อมการปรับปรุงเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Written by



1. ปรับปรุงคุณสมบัติบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียน IPO (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568)

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับเกณฑ์คุณสมบัติของบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงด้านฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน โดยลดความแตกต่างในเรื่องของขนาด เพื่อรองรับธุรกิจที่ไม่ต้องใช้ทุนสูง ดังนี้

- บริษัทจะต้องมีกำไรเพิ่มขึ้นทั้งปีล่าสุด และกำไรย้อนหลัง 2-3 ปีเพิ่มขึ้น เพื่อสะท้อนผลประกอบการที่ดี

- บริษัทจะต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) เพิ่มขึ้น เพื่อแสดงถึงการมีฐานะการเงินเข้มแข็ง

- ปรับมูลค่าหุ้นที่ชำระแล้ว (Paid Up) ลดลง สำหรับการเข้าจดทะเบียนใน SET แต่ยังคงสูงกว่าทุนชำระแล้วขั้นต่ำของ MAI ในปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนบริษัทที่มีทุนชำระแล้วน้อย แต่มีผลการดำเนินงานและฐานะการเงินดี

- ปรับสัดส่วนเพิ่มขึ้นของการถือหุ้นสำหรับนักลงทุนรายย่อย (Free Float) และสัดส่วนหุ้นที่เสนอขายแก่ประชาชน (IPO) เพื่อให้มีสภาพคล่องในตลาดรองที่ดีขึ้น

สรุปการปรับปรุงเกณฑ์เข้าจดทะเบียน IPO (ตัวหนังสือสีน้ำเงิน คือ เกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่)



2. ยกระดับการเตือนผู้ลงทุน โดยเพิ่มเหตุที่จะเตือนผู้ลงทุนด้วยเครื่องหมาย (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2567)

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับปรุงเกณฑ์สำหรับบริษัทจดทะเบียนที่มีความเสี่ยงด้านฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน สภาพคล่องทางการเงิน หรือมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยเครื่องหมายใหม่นี้จะทดแทนเครื่องหมาย C (Caution) ในปัจจุบันด้วย โดยแบ่งเครื่องหมายแสดงตามเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้

- CB สำหรับบริษัทที่มีปัญหาเรื่องฐานะการเงิน

- CS สำหรับบริษัทที่มีปัญหาด้านงบการเงิน

- CC สำหรับบริษัทที่ไม่ปฎิบัติตามเกณฑ์

- CF สำหรับบริษัทที่มี Free Float ไม่เป็นไปตามเกณฑ์


เมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ขึ้นเครื่องหมายแล้ว ผู้ลงทุนจะต้องซื้อหลักทรัพย์นั้นด้วยบัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance) และบริษัทจดทะเบียนต้องจัดประชุมเพื่อให้ข้อมูลกับผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง (Public Presentation) ตามเกณฑ์ที่ใช้กับหลักทรัพย์ที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย C ในปัจจุบัน

สรุปเงื่อนไขการขึ้นเครื่องหมาย (ตัวหนังสือสีน้ำเงิน คือ เงื่อนไขที่มีการเพิ่มใหม่)  

 

 

3. เพิ่มเหตุเพิกถอน (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2567)

ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพิ่มเหตุเพิกถอนในกรณีบริษัทจดทะเบียนไม่มีธุรกิจต่อเนื่องหลายปี หรือไม่สามารถแก้ไข Free Float ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้นักลงทุนมั่นใจได้ว่าบริษัทจดทะเบียนมีคุณภาพที่เหมาะสม

4. การทำ Backdoor Listing (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2567)

ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพิ่มความเข้มข้นในการพิจารณาคุณสมบัติบริษัทที่เข้าจดทะเบียนโดยอ้อม (Backdoor Listing) และกรณีย้ายกลับมาซื้อขายหลังแก้ไขเหตุแห่งการเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน (Resume Trading) ให้เทียบเท่ากับการเข้าจดทะเบียนใหม่ (New Listing) เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนมีคุณภาพใกล้เคียงกัน

โดยขึ้นเครื่องหมาย NP (Notice Pending) สำหรับบริษัทที่อยู่ระหว่างกระบวนการ Backdoor Listing หรือไม่ดำเนินการจัด Opportunity Day ภายใน 1 ปี หลังเข้าจดทะเบียน และขึ้นเครื่องหมาย SP (Trading Suspension) แสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราว กรณีบริษัทไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ Backdoor Listing จนกว่าจะแก้ไขได้ (เพิกถอน ถ้า SP 2 ปี)

 

ทั้งนี้ เกณฑ์ดังกล่าวได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. แล้ว ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเกณฑ์ที่มีการปรับปรุงได้ที่เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ

ผู้เขียน : คุณธนกร บัวงาม บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด อ้างอิง : website ของตลาดหลักทรัพย์ฯ https://www.set.or.th

Transparency Report

Read our 2024 Transparency Report

transparency