สวัสดีครับผม ผมเป็นหนึ่งในผู้ประกอบวิชาชีพ สอบบัญชี หรือที่คนทั่วๆไป เรียกว่า ออดิท (Auditor) ส่วนผู้ที่ได้ใบประกอบวิชาชีพนี้จะมีชื่อว่า Certified Public Accountant (CPA) นั่นเองครับ
แต่เพื่อนบางคนอาจจะงงว่า ออดิท นั้นหมายถึง ผู้ตรวจสอบบัญชี ทุกคนเลยหรือเปล่า ก็ต้องบอกว่า ออดิทเนี่ยแบ่งเป็น Internal Audit และ External Audit ครับ ซึ่งในส่วนของ Internal Audit จะเป็นคนในบริษัทนั้นๆที่ทำหน้าที่ดูว่า ไอ้ระบบที่ ท่านๆ ในองกรณ์วางไว้เนี่ย ได้รับการปฏิบัติตามมากน้อยแค่ไหน มีความเสี่ยงอะไรที่จะเกิดได้บ้าง เพื่อให้บริษัทอยู่ได้อย่าง Smoothly
ส่วน External Audit ก็จะเป็น คนนอก ครับ(ก็ชื่อก็บอกเนอะ) ที่ได้รับการว่าจ้างจากบริษัทนั้นๆ เพื่อมาตรวจสอบในมุมของ งบการเงิน เป็นหลัก ซึ่งออดิทประเภทนี้มักจะ วนเวียนมาที่บริษัท สามเดือนครั้ง หกเดือนครั้ง หรือปีละครั้งบ้างก็แล้วแต่ ขึ้นกับหลายๆอย่าง
เอาล่ะครับ เพื่อนๆหลายคนคงพอทราบถึงแง่ของ มุมดาร์ค ของสายงานนี้จากหลายๆแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นคำบ่นหรือเพื่อนที่ทำอาชีพนี้ในเฟซบุ๊ค ,เสียงลือเสียงเล่าอ้าง หรือเห็นการทำงานของพวก "ออดิท" เหล่านี้ที่แวะเวียนมาที่ออฟฟิตตัวเอง ว่าอาชีพนี้นี่คนจะมาทำต้อง ดึก ถึก และห้ามตาย* รวมถึงสภาพการทำงานก็มักจะเลิกกันดึกๆดื่นๆ เรียกได้ว่าวันไหนที่ ออดิทเลิกแล้วยังเห็นพระอาทิตย์ เรียกว่าชีวิตเหมือนได้มงกุฏมิสเวิลในวันนั้น *.*
1. เงินดีหนิ
ใช่ครับหลายคนพอนึกถึงออดิท นอกจากงานที่หนักหน่วงแล้วในมิติของ งานที่ค่อนข้างได้รับผลตอบแทนดี ก็มักเป็นที่รับรู้ของคนทั่วๆไป ผมยอมรับเลยครับว่าอาชีพนี้ ค่อนข้างเห็นผลตอบแทนที่ ดีกว่า ในระดับเดียวกัน (ผมวัดดูจากคุณวุฒิที่จบมาทางธุรกิจและ วัยที่เท่าๆกันนะครับ)
ผลตอบแทนนอกจากจะ เริ่มต้น ย้ำว่าเริ่มต้นสำหรับนิสิตจบใหม่(์New Grad) ที่ค่อนข้างสูง กว่าสาขาอื่นในสายงานธุรกิจ เงินเดือนของออดิท ยังเป็นที่ยอมรับในแง่ที่ว่ามีการ เพิ่มขึ้นในแต่ละรอบที่ สูงมากอีกด้วย (แอบกระซิบว่า ปีละไม่ต่ำกว่า 10%-20% ครับ (แต่ปีที่แล้วรอบๆตัวผมเงินเดือนขึ้นมา 30%นะ* )) และการเพิ่มขึ้นจะเพิ่มทุกๆปี (ผมยังไม่เคยปีไหนไม่เพิ่มนะครับ) แม้ปีนั้นบริษัทเพื่อนคุณจะบอกว่า ปีนี้บริษัทผลประกอบการไม่ดี ของดการเพิ่มเงินเดือน ก็ตาม
เงินเดือนนี่ยังจะยิ่งเข้มข้นและ จำนวนจะมีนัยสำคัญ* มากขึ้นถ้าคุณทำงานใน ออดิทเฟิม (สำนักงานตรวจสอบบัญชี) ที่มีชื่อเสียงหรือที่เราเรียกว่า BIG4 (KPMG/ Deloiite/ EY/ PwC) และจะจ่ายดี มากขึ้นไปอีกถ้าคุณทำงานมามากกว่า 10ปี และก้าวสู่ตำแหน่ง หุ้นส่วน หรือ Partner ในบริษัทเหล่านั้น แต่เงินเดือนของเหล่า "พาทเนอร์" จะถูกเก็บเป็นความลับมากๆ และมีการคาดเดากัน(อย่างค่อนข้างแม่นยำ) ว่าสามารถซื้อรถ Toyota Camry ได้ทุกเดือนและอาจมากกว่าเดือนละ 1 คัน...
2. ประสบการณ์ที่เรียนรู้ แทบทุกอณูความเคลื่อนไหวของ "ลูกค้า"
ใช่ครับ "ออดิท" จะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะอย่างยิ่ง ในการทำงบฯ เท่านั้นแต่ในขั้นตอนกว่าจะได้มาเป็นงบนี่น่ะสิครับ ออดิทเราจะต้องทั้ง ทำความเข้าใจกิจการ เพื่อวางแผลว่าเราจะตรวจสอบอย่างไรดี
การวางแผนการตรวจนั้น ออดิทต้องทำความรู้จักใน Core Business หรือลักษณะธุรกิจหลักๆของ ลูกค้า(คนที่มาจ้างเรา) ไม่ใช่เพียงแต่อ่านเอกสาร หรือหนังสือ วีดีทัศน์แนะนำบริษัท แต่เราจะมีการ จัดประชุมกับผู้บริหารระดับบึ้ม ขององกรณ์เพื่อสอบถาม วิถีชีวิตของบริษัท ทั้งที่ผ่านมาแล้ว และแพลนว่ากำลังจะทำอะไร (แน่นอนครับว่าต้องเก็บเป็นความลับขั้นสุด) เพื่ออะไรน่ะหรอครับ ก็เพราะการบัญชีในปัจจุบันไม่ได้แค่บันทึก รับเงิน จ่ายเงิน ซื้อของ แต่บัญชีในปัจจุบัน จะต้องมีการรับรู้ "สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น" เข้าไปหรือเอาไปบอกไว้ในงบการเงินอีกด้วย เช่น! บริษัทมีคดีความกับลูกค้า แล้วผู้บริหารดูเหมือนบริษัทจะแพ้ ไอ้แบบนี้ออดิท ก็จะเป็นคนรู้ แล้วดูต่อว่าสมควร เปิดเผย อย่างไรดี (คนนอกหรือแม้แต่พนักงานบริษัทเอง ผมว่าอาจไม่มีทางรู้เลยด้วยซ้ำ)
โครงสร้างของบริษัท ออดิทก็ต้องทำความเข้าใจครับ ไม่ว่าจะเป็น ใครใหญ่กว่าใคร การทำงานเป็นอย่างไร จะจ่ายเงินระดับสิบล้านต้องมีใครเซ็นบ้าง หรือรวมถึง เงินเดือนของแต่ละคน!
ใช่ครับออดิทจะทราบถึงโครงสร้างภาพรวมเหล่านี้ เพื่อมาออกแบบวิธีการตรวจแล้วก็ดูๆว่า ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นจากตรงไหนได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นทุจริต หรือข้อผิดพลาด การที่กิจการต้องเปิดเผยสิ่งต่างๆเหล่านี้ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งและ ผู้บริหารปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องจัดเตรียมข้อมูลให้ออดิทครับ เพราะมันเป็นข้อตกลงขั้นแรกๆในการที่ออดิทจะตอบรับงานเลย! แม้ว่าผู้บริหารจะบอกว่าข้อมูลนั้นลับแค่นั้น แต่ถ้ามันเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับการตรวจสอบ ก็ต้องเอาให้ออดิท ยืมมาดู หน่อยเช่น เงินเดือน! เป็นต้น
เห็นมั้ยครับว่าการที่จะได้มาในข้อมูลแต่ละส่วน ออดิทจะต้อง ติดต่อกับฝ่ายต่างๆแทบจะทั้งองกรณ์ เช่น ผู้บริหารชั้นท้อป, ฝ่ายHR, ฝ่ายกฏหมาย และแน่นอน ฝ่ายการเงินและบัญชี
3. การก้าวกระโดดในหน้าที่การงาน โดยเฉพาะด้านบัญชีและการเงิน : FAST TRACK !
ใช่ครับตามที่เพื่อนๆบางคอมเมนท์ ตอบเกี่ยวกับการก้าวกระโดดในหน้าที่การงาน (และการเงิน) ของออดิทนั้น มักจะรวดเร็ว และ Fast Track แซงโค้งเร็วกว่า เพื่อนๆพนักงานในระดับเดียวกันแต่คนละหน้าที่ โดยเฉพาะตำแหน่ง บัญชี และการเงินของบริษัท
ทำไมน่ะหรอครับ ผมขอยกตัวอย่างฝ่ายบัญชีและการเงินที่ชาว ออดิท มักจะไปฝังตัวเมื่อถึงเวลาตรวจสอบ อิอิ คุณๆเพื่อนๆลองนึกภาพดูนะครับ เมื่อเด็กจบใหม่ๆ ที่เข้าทำงานออดิท มักจะได้รับงานตรวจสอบบัญชีที่ ความเสี่ยงต่ำ และวิธีการตรวจสอบไม่ยุ่งยาก และ New Grad เหล่านั้นสามารถเข้าใจได้ง่าย เช่น เงินสด, รายจ่าย หรือ ที่ดินอาคาร เป็นต้น สังเกตุมั้ยครับว่า แต่ละรายการคุณน่าจะพอ เดาๆแนวการตรวจสอบได้(ก็มันเกี่ยวกับบุคคลที่สามไง บริษัทเลยหลอกลวงได้ยากหน่อย) เช่น เงินสด เราก็ดูเงินที่บริษัทเราลงบัญชี กับตัวเลขในแบงค์ หรือ รายจ่ายทั่วๆไป มันก็ต้องเกี่ยวกับ คนอื่น (พ่อค้า) ก็ตรวจโดยดูบิลส่งของ หรือใบแจ้งหนี้ (เบื้องต้นนะครับ) ดังนั้นเด็กใหม่เหล่านี้จะใช้เวลา 1 ปีแรกกับการตรวจอะไรก็ตามที่มักจะ เหมือนๆกัน ในทุกๆกิจการ หรือสิ่งที่มันยังไม่ใช่ Core Business นั่นเอง ในขณะเดียวกันพนักงานที่รับผิดชอบในหน้าที่บางอย่างเช่น ถือเงินสดย่อยไว้รับจ่าย, บันทึกบัญชีเวลาเจ้าหนี้มาวางบิล ก็มักจะเจอกับเหตุการณ์นั้นๆตลอดครับ (แต่ข้อดีก็เยอะครับ อ่านต่อไปก่อนนะจ้ะ)
พอมาปีต่อๆมา (ขอรวบยอดนะครับ) ออดิทจะได้สัมผัสการตรวจสอบกับส่วนที่เป็น Key Stream ของธุรกิจ เช่น ตรวจรายการรายได้ (ก็แหงล่ะครับ แต่ละที่ก็บันทึกรายได้คนละเวลา เช่น ขายข้าว, สร้างคอนโด, เมมเบอร์ฟิตเนส, ปล่อยกู้...) หรือ ล้ำๆก็เช่นตรวจสอบมูลค่าของหุ้นที่พวกโบรคเกอร์เอามาคิดค่านายหน้า ว่าโอเคไหม นี่แค่บางส่วนนะครับ ที่เราๆเพื่อนๆพอจะมองแยกออกจาก ธุรกิจทั่วๆไป ได้อย่างชัดเจน
แต่มันยังไม่หยุดแค่นี้ครับ มันยังมีส่วนอื่นของธุรกิจที่ ออดิท ต้องไปทัช และไป รบกวน และจำเป็นต้องใช้ ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ มากขึ้น ดังนั้นเมื่อโตๆขึ้นแล้วทักษะ ทางด้านการตรวจสอบ จึงจำเป็นต้องอิงหลัก ดุลยพินิจ สูงมากๆ สูงจริงๆ ซึ่งตำแหน่งที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆเหล่านี้มักเป็น ออดิทที่ทำงานมามากกว่า 5ปี แล้วหรือ ระดับ เมเนเจอร์ ครับ ส่วนดุลยพินิจที่ผมกล่าวถึงเนี่ย ก็อย่างเช่น บริษัท A ไปซื้อบริษัท B แต่บังเอิญ ซื้อไม่หมด ซื้อมาได้แค่30% ของหุ้นใน B ทั้งหมด อ้าว อ้าว อ้าว แล้วสองบริษัทนี้ต้องนำมาทำ งบการเงินรวม หรือไม่ อันนี้ทางฝ่ายเมเนเจอร์ ขึ้นไปก็มักจะรับผิดชอบในการคิดว่า ไอ้การซื้อขายกิจการแบบนี้เนี่ย เข้าข่ายการ รวมธุรกิจมั้ย แล้วถ้ารวมกันแล้ว ได้ลูกออกมาหน้าตาอย่างไร (บริษัทแม่/ กิจการร่วมค้า/ หรือถือหุ้นเอาไว้เก็งกำไรเฉ้ยเฉย ) อ้าว อ้าว อ้าว ทำไมต้องคิดน่ะหรอครับ ก็เพราะแต่ละรูปแบบ กิจการต้องลงบัญชี รวมถึงทำงบต่างกันน่ะสิครับ
หลายคนคงเริ่มสำลัก และสะอึกว่า อะไรของมันวะ ก็ไม่เป็นไรครับ เอาเป็นว่าจากข้างต้น คงจะพอเห็นภาพของเหล่า ออดิท มากขึ้นนะครับว่า การที่เราทำหน้าที่ออดิทนั้น จะสามารถสัมผัสได้ทุกวงจรของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น รายจ่าย, รายรับ, การเพิ่มทุน, การขยายกิจการ, การออกหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ หรือแม้แต่ การปิดกิจการต้องลงบัญชีอย่างไร ภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งผมมองว่าประมาณ 5 ปีแรกของการทำงานออดิทจะได้สัมผัสแทบครบเลยครับ ซึ่งถ้าเทียบกับเพื่อนพนักงานบัญชีขององกรณ์ จะมีหน้าที่ที่เฉพาะเป็นของตัวเอง เช่น คุณ A ทำหน้าที่บันทึกจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ ก็จะบันทึกจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ตลอด หรือน้องB ทำหน้าที่บันทึกรายได้ ก็จะบันทึกรายได้เป็นประจำ ซึ่งแน่นอนว่าออดิทจะสามารถมองภาพรวมและสามารถ Manage ทั้งแผนกได้ (ถ้ากลายร่างจากออดิทเป็นพนักงานบริษัทนั้น) อย่างไรก็ตามพนักงานบัญชีในบริษัท จะมีความ Specialist มากกว่า ออดิทครับ เพราะแม้จะเผชิญกับการ จ่ายหนี้ แบบเดิมทุกวัน แต่คุณสามารถเจอกับรายละเอียดของงานนั้นๆ เช่น บริษัทซื้อของจากเมืองนอกวันนี้ (ก็มีเจ้าหนี้) แต่จ่ายเงินเดือนหน้า (เจ้าหนี้ก็หาย) แต่! เราจะใช้ เรทแลกเปลี่ยน ไหนมาบันทึกล่ะครับ ก็ในเมื่อมีหลายวันมาเกี่ยวข้อง และถ้าเกิดผลต่างตอนมีเจ้าหนี้ กับตอนจ่ายหนี้ อ้าว อ้าว อ้าว งงเต้ก จะเอาผลต่างไปยัดไว้ในไหน (เชื่อสิ ออดิทบางคนก็ไม่รู้)
เห็นมั้ยครับว่าออดิท สามารถใช้เวลาไม่นานในการ วนเวียน ครบรอบธุรกิจและมันก็เลยทำให้ ง่ายต่อการ เรียนรู้เมื่อก้าวจากออดิทเข้าสู่บริษัทต่างๆ และออดิทมักจะได้ Fast Track ก้าวสู่การเป็น ระดับผู้จัดการ หรือ ระดับบริหารที่ค่อนข้างเร็วกว่าหลายๆตำแหน่งในเวลาเท่ากัน (ผมพูดในภาพรวมส่วนมากนะครับ เพราะมีเพื่อนหลายคนที่ไม่ใช่ออดิทที่โดดเด่นและโตเร็วกว่า ก็เกิดขึ้นได้ครับ) และผลคือบริษัทต้องการออดิทมานั่งอยู่ในตำแหน่งที่กล่าวมานี้ไงครับ ดังนั้นเราจึงมักเห็นออดิทที่ถูกดึงตัว ดึงดูด ลากมา หรือถูกเล่นของจาก บริษัทลูกค้าที่ออดิทนั้นเคยเข้าตรวจ ให้เข้ามาเป็นพนักงานบริษัทนั้นๆแทน (ก็มันไม่ต้องสอนแล้วไงเล่า !) ด้วยเงินเดือนที่น่าพอใจ เพราะถ้าไม่ คงดูดไม่ไปแน่ๆ จริงมั้ยครับ
4. เวลาการทำงาน Kod Flexible ! (Kod = Very in Thai)
ก่อนอื่น Flexible แปลว่า ยืดหยุ่น หลวมๆ หยวนๆ นะครับ และใช่ครับผมว่าข้อนี้ชาวออดิท หรือคนที่เคยทำงานด้วย มักจะรู้กันดีว่าเวลาการทำงาน (Working Hours) ของออดิทนั้น คือ..... คือเมื่อไหร่แน่ ก็เพราะว่าออดิท (มักจะ) ไม่มีการตอกบัตรเข้าออก หรือฉันต้องรีบตื่นตีห้า มาออฟฟิต 8.298 น. เพื่อทำการแตะบัตรให้ทัน 8.30น คุณจะไม่พบอะไรแบบนี้ที่สำนักงาน สอบบัญชีครับ (เท่าที่ผมทราบมานะ) แต่เรา(ขออนุญาตใช้เรา = ออดิท) จะยึดว่า "งานต้องเสร็จ" และ "ความรับผิดชอบนี่เองที่ทำตัวเป็นนาฬิกาให้เราครับ"
อย่างไรก็ตามคำว่าไม่มีเวลาเข้าออกอย่างเป็นทางการ ก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะตื่น จะเริ่มงานตามใจเฉิ่มแฉะได้ เพราะออดิทจะทำงานโดยแบ่งเป็นทีมๆ (มีตั้งแต่ 2-20คนหรือมากกว่า ตามขนาดหรือความซับซ้อนของลูกค้าที่เข้าตรวจ) ดังนั้นการที่คุณจะมาสายมากเกินควร ก็คงจะไม่ดีตราบใดที่เรายังมี ความแคร์เพื่อนร่วมงานในทีมเนอะ ซึ่งปกติเนี่ยผมก็มักจะถึงออฟฟิตลูกค้าที่เข้าตรวจประมาณ 9.15น (ที่จริง 9.30น. แต่คิดว่าสิบห้านาทีทำให้ตัวเองดูดีขึ้นมาหน่อย) ซึ่งคิดว่าเป็นค่าเฉลี่ยที่ออดิทมักจะเริ่มงานกันนะครับ เพราะบางท่านๆ ก็เข้างานประมาณ 11 โมงก็มี หรือที่พีค เท่าที่เคยทราบคือ บ่าย2 ครับ ครับ 2pm!
แต่การที่ออดิทเข้างาน สายในสายตาบางท่าน มันแฝงด้วยเหตุผล (เราเรียกว่าเหตุผลนะ อิอิ) คือถ้าสมมติว่าลูกค้ารายนั้นๆ เริ่มงาน 8 โมงเช้าโดยปกติ แล้วออดิทเข้างาน 8 โมงเช้าเท่ากัน ผลคืออะไรน่ะหรอครับ กลายเป็นว่าลูกค้าไม่ได้ทำงานของตัวเองในช่วงแรกเลย (ใครพอคลุกคลีจะทราบว่า ช่วงออดิทเข้าตรวจ เค้ามักจะไป วนเวียน ระบบงานปกติของคุณ) และทำให้การเข้างานเช้าของออดิทนั้น ไม่เกิดผลอะไรขึ้นมาครับ อย่างไรก็ตามบางบริษัท ก็มักจะ กำหนดกฏเกณฑ์มาเลยว่า ออดิท ต้องเริ่มและ เลิกพร้อมกับเวลาทำงานของบริษัท ซึ่งนั่นก็ช่วยไม่ได้จริงๆครับ ถ้าออดิทจะไปสวัสดีคุณบ่อยๆ เพื่อที่จะขอเอกสารให้ทำงานทัน ตามเวลาของเรา
"ดีมากๆเลยล่ะสิ เข้ากี่โมงก็ได้ สบายจัง" กำลังคิดแบบนี้กันใช่มั้ยครับ ซึ่งมันก็ถูกและไม่เถียง แต่เพื่อนๆวนกลับไปดูว่า นาฬิกาของเราคือความรับผิดชอบว่างาน "ต้องเสร็จ" ดังนั้น เมื่อมันไม่มีการกำหนดเวลา เริ่มต้นตายตัว.. เวลาเลิก มันก็ไม่ตายตัวเช่นกันครับ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับ ความซับซ้อนธุรกิจ, ความพร้อมของเอกสาร, มุมมองของลูกค้าต่อออดิท รวมถึงความสามารถของออดิทเองด้วย ที่จะเป็นหลายปัจจัยที่กำหนดว่า ลูกค้ารายนั้นๆ เราจะเริ่ม เลิก กันกี่โมงด้วยครับ
และเนื่องจาก ออดิท "มัก" เริ่มทำงานโดย สายกว่า เวลาปกติของพนักงานออฟฟิตทั่วไป ดังนั้นมันก้เหมือนมี กฏที่เรารู้สึกกันเองด้วยจิตวิญญาณ (คือ ความรู้สึกอะครับ) ว่าเราควรกลับบ้านเลทหน่อยนะ เพราะวันนี้เรามาช้า หรือบางทีเราก็ไม่รู้สึกครับ เพราะงานมันเสร็จก่อนเวลา เราก็พร้อมที่จะเข้างานประมาณ 10 โมงเช้า และกลับบ้านเวลาเดียวกับลูกค้า ประมาณ 5 โมงเย็น แม้ว่าคุณลูกค้าจะเริ่มงานก่อนก็ตาม งงมั้ยครับว่าตกลง ออดิท รู้สึกหรือไม่รู้สึก ผมก็งงครับ 555 คือมันขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วยครับเช่น เรามั่นใจว่างานที่ทำเสร็จทันเวลา / คุณลูกค้าเข้าใจเรา / เพื่อนร่วมทีมไม่คิดว่าการกลับก่อนเป็นการหักหามน้ำใจ หรือการกลับบ้านดึกไปเป็นการแสดงเพาเวอร์ที่ไม่เหมาะสม หลายปัจจัยจริงๆครับ
และความ หลวมๆ ของเวลานี่เองที่ทำให้ ออดิทสามารถจัดการเวลา ( Time Management) ด้วยตัวเองได้ด้วยความรับผิดชอบที่มี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น ถ้าทำไม่เสร็จเราก็ต้องยอมที่จะนำเวลาในวันหยุด มาทำงานให้เป็นไปตาม "ต้องเสร็จ Basis" หรือในกรณีที่งานตรวจสอบของลูกค้า รายหนึ่ง ขออนุญาตยกตัวอย่างจริงของผม เลยละกันครับเพื่อความสมจริงสมจัง ว่า ลูกค้ารายนั้นเป็น โรงแรม 5 ดาวตั้งอยู่ติดหาดไม้ขาวที่ภูเก็ต และทีมมีความคุ้นเคยกับลูกค้า (เคยตรวจมาก่อนแล้วครับจึงเข้าใจภาพรวม) และลูกค้ามองออดิทในทัศนคติที่ดี ทำให้เวลาขอเอกสารหรือ สอบถามสิ่งที่สงสัย เป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว ผลคือ ทีมเราเริ่มทานอาหารเช้า (ถ้าตรวจสอบกิจการโรงแรม ออดิทมักจะได้ทานอาหารเช้าบุฟเฟ่ และพักในโรงแรมนั้นๆครับ) ของโรงแรม 5 ดาวนั้นเหมือนแขกคนหนึ่งทุกวันเวลา 8.45 - 9.20น (ประมาณนะ) และ ทีมเราจะเลิกงานก่อน 6 โมงเย็นเพื่อดูพระอาทิตย์ หย่อนตัวลงอันดามัน ครับ เป็นไงล่ะครับ แต่การ บริหารเวลานั้นยังรวมไปถึง ออดิทสามารถจะไปลง เรียนปริญญาโท ตอน 6 โมงเย็น ถึง สามทุ่มแล้วทำ thesis ต่อถึงตีสาม แล้ววันรุ่งขึ้น ตื่น 10 โมงมาทำงาน เที่ยง ก็เป็นไปได้เสมอ ตราบเท่าที่คุณบริหารเวลาของตัวเองได้ครับ
5. รู้จักคนเยอะ ม า ก จนอาจกลายเป็น Super Connection !!
ใช่ยิ่งกว่าใช่ และก็เดาๆว่าหลายคนคงพอนึกภาพออกได้ ก็เพราะเหล่าออดิทเนี่ย นอกจากความรู้ที่ต้องมีเกี่ยวกับพวก มาตรฐานการบัญชีหรือการตรวจสอบ แล้วสิ่งที่สำคัญ ผมว่าสำคัญพอกันนะ คือการที่ ออดิทจะต้องติดต่อสื่อสารกับ คนอื่นๆ ตลอดเวลา (Interpersonal Skill) เพื่อให้การตรวจสอบเป็นไปตามคติประจำใจของเราชาวออดิทคือ ...ต้องเสร็จ
คนอื่นๆที่ว่า เป็นได้ทั้งลูกค้าที่เราไป "ออกจ้อบ" หรือไปตรวจสอบนั่นเอง คุณลองนึกภาพดูนะครับว่า ถ้าสมมติคุณๆกำลังทำงานตาม ปกติ(Routine) เช่น ฉันทำรายงานจ่ายเงินทุกวัน, ฉันทำหน้าที่วางบิลทุกวัน บลาๆๆๆ แล้วอยู่ดีๆ มีชนกลุ่มน้อยที่ไหนไม่รู้ มานั่ง มาสถิตในออฟฟิตของเรา แล้วก็มาขอนู่นนี่นั่น เอกสารบ้าง, ถามเหมือนเด็กอนุบาลไม่รู้เฮียไรเลยบ้างล่ะ(มักจะเกิดขึ้นในออดิท เพิ่งจบใหม่ทั้งหลาย) หรือ แม้แต่มาขอยืมอุปกรณ์สำนักงานบ้างในออฟฟิตอันเป็นที่รักของคุณ (ก็แน่นิ ออฟฟิตคุณคือออฟฟิตของออดิท ส่วนออฟฟิตออดิทคือ..ไม่ค่อยได้อยู่หรอกเพราะอยู่ออฟฟิตคุณมากกว่า งงปะ) มิหนำซ้ำยังมาปลักปลำว่าฉันบันทึกบัญชีไม่ถูกบ้างล่ะ ระบบความคุมไม่ค่อยจะดีบ้างล่ะ
คำถามคือ คุณรู้สึกยังไงล่ะครับ เมื่อมี สิ่ง Amazing People เหล่านี้ คลืบคลานเข้ามาอย่างไม่ระแคะระคาย รปภ ของออฟฟิตคุณเลย แถมยังหาเรื่องสารพัดสาะเพ นี่น่ะสิครับคือเหตุผลว่าทำไม ทักษะการติดต่อสื่อสารของ ออดิทผมจึงเห็นว่ามีความสำคัญขั้นแมกซิมั่ม เพราะสุดท้ายยังไงเหล่าออดิทก็ต้องได้มาซึ่ง เอกสารการตรวจสอบ ที่"น่าพอใจ" แต่กว่าจะได้มา กว่าจะเข้าถึงได้นี่เล่นเอาเลือดตาแทบกระเด็นกันเลยทีเดียว ลูกค้าบางรายก็ค่อนข้างเข้าใจออดิทในจุดนี้ แต่บางรายก็นะครับ มองเรายังกะคนที่... คนที่ไรดีล่ะ คนที่ยืนขวางประตู BTS ที่สถานีสีลมตอนหกโมงเย็น โดยไม่ขยับ และกระเถิบ (พอเก็ทมั้ย ไม่รู้จะอธิบายสายตาคู่นั้นที่มองยังไงดี +.+)
การติดต่อกับคนอื่นๆยังไม่หยุดแค่นั้น มันยังรวมถึงผู้บริหารระดับสูงงง งง สูงสะจนผมเกร็งในบางที (แต่ผมชอบการพูดคุยกับท่านๆมากนะครับ เพราะคนเหล่านี้มักจะมีของเด็ดที่เราได้เรียนรู้ตลอดเวลา แม้จะคุยแค่ไม่กี่นาทีก็ตาม) และนอกจากลูกค้าแล้ว Connection ยังรวมถึง คนในทีมออดิทกันเองด้วย ! ก็แน่นอนว่าบริษัทพวกออดิทเนี่ย จะไปมีทรัพย์สินอะไรมากมาย นอกจาก คน คน คน และ คน (เงินในแบงค์ด้วย แต่ขอพูดคนก่อน) และออดิทเราก็ต้องไปตรวจลูกค้า โดยมีวัฒนธรรมที่เราจะ Mobility โยกย้ายเปลี่ยนทีมตลอดเว ดังนั้นคุณจะได้พาญพบ เผชิญกับคนทำงานหลากหลายรูปแบบ เก่งปานเทพ, เก่งจริงอ๋อ, แต่งหน้าสวย, ใช้เบสผิดเบอร์ โอยเยอะแยะไปหมด แต่ยังไงเราก็ต้องพูด ต้องคุยกันในทีมนั้นๆ เพื่อดันให้งานตรวจสอบ สำเร็จลุล่วงกันไปในที่สุด
ผลลัพธ์จากการที่ต้องไปสำผัส ไปทัชคนในตำแหน่งต่างๆ บางทีออดิทมักจะได้คำแนะนำดีๆ ดีมากๆทั้งจากลูกค้าที่ไปตรวจ หรือคนในทีมที่เจอ เช่นคำแนะนำการทำงาน, กาารไปเรียนต่อ, การย้ายบริษัท, ความก้าวหน้าทางอาชีพ หรือการทำกับข้าวให้อร่อยต้องใส่อะไรก่อนหลัง สิ่งเหล่านี้มันกลายเป็น Connection ให้เราในเวลาถัดมาครับ ผมมีคนรู้จักหลายท่านที่ ออกจากวงการออดิทไปทำธุรจกิจเองบ้างล่ะ ไปเรียนต่อเมืองนอก รวมถึงเข้าไปพนักงานในบริษัทของลูกค้าที่ไปออกตรวจ ด้วยอิทธิพลของการแนะนำจาก คนต่างๆที่เราเจอ เพราะสิ่งที่คนเหล่านี้แนะนำมักจะเป็นสิ่งที่ เค้าผ่านมาจริงๆ เค้าเป็นผู้เล่นจริงๆไม่ใช่แสตนด์อิน ดังนั้น ประสบการณ์ที่พี่ๆเพื่อนๆแนะนำเรา มีค่ามาก มากจนบางทีผมรู้สึกว่า โหถ้าเราต้องหาประโยคหรือคำแนะนำนี้ด้วยตัวเอง ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่เนี่ย
ตัวอย่างที่เห็นชัดๆก็เช่น Connection จากลูกค้าที่ไปออดิทไปทำการตรวจสอบ แล้วเค้าเข้าตาเรา เค้าก็จะแนะนำและอาจถึงขั้นดำเนินการยื่น ใบสมัครเพื่อที่จะดูดออดิท เข้ามาทำงานในบริษัท หรือผู้บริหารบางท่านถูกชะตาเรา ถูกใจในลักษณะการทำงาน ก็อาจถูกยื่นข้อเสนอให้ออดิทโดยไม่รู้ตัว หรือคนในทีมบางคน เทพมากๆสอบอะไรได้หลายๆอย่าง ก็มาแนะนำวิธีปฏิบัติ แชร์กันเพื่อให้แต่ละคนคิดๆและลองหา เคล็ดลับที่เหมาะกับตัวเองมากสุด หรือ หรือ มีพี่คนนึงได้ทุนไปเรียนต่อเมืองนอก เพราะมีคุณลูกค้าแนะนำว่า ยูวภาษาดีนิ ลองสมัครทุนนี้สิ ทำอย่างนี้นะ 1 2 3 4 จนพี่แกไปอมริกาละครับ แล้วก็เวลาที่ออดิทไปตรวจลูกค้าที่อยู่ ต่างจังหวัด มันเหมือนเป็นจารีตเนอะ (ทำก็ได้ ไม่ทำก็ไม่ผิด ผมท่องมาตอน ม3) ที่ลูกค้าจะพาเราไปเลี้ยงข้าว ซักมื้อหรือมากกว่า นั่นเป็นเวลาที่เราจะรู้จักลูกค้า ได้พูดคุยในมุมอื่นๆที่นอกเหนือจากเรื่องงาน(แต่บางคนก็ยังหอบงานมาคุยนะ โถ่เอ้ย) และคุณจะได้ประสบการณ์ในการดำรงชีวิตของเขาเหล่านั้นมาเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว ก็แน่ล่ะครับคนที่จะพาออดิทไปเลี้ยงได้นี่ ก็มักเป็นเบอร์หนึ่ง หรือคนท้อปๆในฝ่ายบัญชีหรือการเงินของแต่ละบริษัท นี่เป้นส่วนหนึ่งนะที่ผมพอนึกๆออกจาก Benefits of Connection ที่มักเกิดขึ้นตลอดเวลาการทำงานขอออดิท ขออย่างเดียวคือ ออดิทต้องมองมันให้ออกและมองๆมุมอื่นบ้าง นอกจาก.... งานตรูต้องเสร็จว้อย !
6. โอกาสในการได้มาซึ่ง ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอันล้ำค่า CPA License ! ! !
ครับหลายคนอาจงงๆว่า อ้าวออดิทที่เดินดุ่มๆ ตรวจนี่นู่นนั่น ไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพนี้กันทุกคนหรอกหรอ ตอบได้เลยว่า ไม่ใช่ครับ ในทีมออดิทแต่ละทีม จะประกอบด้วยผู้ที่ทำหน้าที่เป็นคนรับผิดชอบงานตรวจสอบ หรือใน Big4 ก็จะเป็นพี่พาทเนอร์ในแยกกันไปในแต่ละบริษัทที่ตัวเองรับผิดชอบ ซึ่งแน่นอนว่าระดับพาทเนอร์ ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ หรือ CPA นี้แน่นอน(ก็แน่สิครับ เพราะในBig4เหล่านี้ คนที่จรดปากกาเซ็น ก็คือพาทเนอร์ครับ) ส่วนผู้ปฏิบัติงานตามบริษัทลูกค้านั้นๆ ที่เข้าไปฝังตัว อาทิตย์นึงบ้าง เดือนนึงบ้าง จะมีทั้งคนที่มี CPA แล้ว และยังไม่มีครับ(ซึ่งส่วนมากมักจะยังไม่มีนะ)
ใบอนุญาติ CPA นี้กำหนดให้ คนที่จบด้านบัญชีมา ต้องผ่าน "การทดสอบ" จากสภาวิชาชีพบัญชีของไทยครับ ซึ่งล่ำลือ กล่าวขาน อื้ออึง ขนานนามกันว่าโหดมาก โดยจะประกอบไปด้วย 3 วิชาคือ บัญชี, กฏหมาย และการตรวจสอบบัญชีครับ และแต่ละวิชา จะจำแนกย่อยเป็น 1 และ 2 ดังนั้นเบ็ดเสร็จคือ 3 วิชาหลัก 6 ฉบับการสอบครับ (ถ้างงก็เช่น บัญชี จะแตกเป็น บัญชี1 และ บัญชี2 ครับ) ซึ่งออดิทจำเป็นต้องผ่านการสอบทั้ง 6ฉบับนี้ โดยแต่ละฉบับจะมีอายุ 4 ปี ดังนั้น คุณจะต้องทำตัวเหมือนนักวิ่งมาราทอน เมื่อใดที่คุณเริ่มสอบได้ตัวแรก คุณจะต้องอ่านตัวถัดๆไป ในการสอบแต่ละครั้ง เพื่อไม่ให้ ไอ้ตัวแรกที่คุณได้มา มันหมดอายุตายไปสะก่อน (ทางสภาวิชาชีพบัญชี จัดการสอบปีะ 3 ครั้ง) นอกจากการสอบที่ว่านี้แล้ว ยังมีเงื่อนไขอีกอย่างคือ "ต้องทำงานด้านการตรวจสอบ 3ปีหรือ 3,000ชั่วโมง" โอวแม่เจ้า ดังนั้นการที่จะได้มาซึ่ง CPA License คุณต้องจมปลัก ไม่สิต้องเรียกว่า อยู่ท่ามกลาง การทำงานการตรวจสอบอย่างเบาะๆก็ต้อง 3 ปีครับ เพราะมันเป็นข้อกำหนด นั่นเอง
ปล.ที่จริงแล้วออดิทที่ยังใสๆหรือทำงานไม่ถึง 3 ปี ทางสภาวิชาชีพบัญชี จะเรียกกลุ่มนี้ว่า "ผู้รับการฝึกงาน" ครับ (บอกเฉยๆเป็นความรู้มั้งนะ)
แต่ถามว่า 3 ปีมันนานไปป่าวกว่าจะได้มา (สมมุติว่าคุณสอบผ่านเร็วกว่า 3 ปี) ก็ต้องตอบว่าไม่นานหรอกครับ เพราะ 3 ปีแรกของชีวิตออดิทอย่างที่บอกคุณจะได้เรียนรู้ ได้รับหน้าที่การตรวจสอบ ครบวงจร เกิด แก่ เจ็บ ตาย ของธุรกิจและมันก็มีน้อยคนมากๆ ที่มักจะสอบผ่านทั้ง 6 ฉบับภายใน 3 ปี (แต่เคยเห็นสอบผ่านหมด ภายในปีหรือสองปีแรกก็มีนะครับ) และทางสภาวิชาชีพบัญชี คงเล็งเห็นแหละครับว่าสามปีนี่คือ เบาะๆสุดแแล้วที่จะทำให้ผู้ตรวจสอบทุกท่าน มีความรู้ ความชำนาญที่เพียงพอ ต่อหน้าที่ในการตรวจสอบครับ ดังนั้นแล้วออดิททั้งหลายที่อยู่ในสายงานนี้ก็พยายามที่จะสอบ พยายามที่จะเอาเวลาหลังเลิกงานที่มีอยู่น้อยนิดมาอ่านหนังสือ ซึ่งขอบอกเลยครับว่า ไม่ง่ายแต่ไม่ยาก และคู๋ต่อสู้สำคัญที่สุดของ เกมส์นี้ ไม่ใช่เพียงความหินของข้อสอบ แต่เป็น จิตใจคุณเองนั่นแหละครับที่เป็นคู่ต่อสู้ตัวดี(ก็เราต้องบังคับตัวเองนิเนอะ) เหมือนกับคำกล่าว อ่อนแอก็แพ้ไป ถ้าเอาไหวก็ ...CPA
และคำถามต่อมา อ้าวถ้าได้มาแล้วซึ่ง CPA License + ทำงานในสายงานครบเงื่อนไขแล้ว ผลดีคืออะไร
อันดับแรก แว้บเข้ามาในหัว ออดิทจะสามารถรับรองงบการเงินนั้นๆได้ด้วย ลายเซ็นคุณเอง มันไม่ได้หมายถึงคุณเซ็นกริ๊กๆแล้วจบ แต่แน่นอนคุณจะต้องรับผิดชอบต่องานตรวจสอบ ,ทำงานตามมาตรฐานหรือประกาศนู่นนี่นั่น ให้เหมาะสม ซึ่งในกลุ่ม Big4นั้น กลุ่มพาทเนอร์ทั้งหลายจะเป็นคนเซ็นดังกล่าวนี้ ครับ เท่ปะละ
อันดับสอง CPA สามตัวนี้ จะกลายเป็นพยางค์เท่ๆ ต่อท้ายชื่อคุณไปตลอดชีวิต (หรือจนกว่าคุณไปทำอะไร ไม่ดีเข้าจนถูกเพิกถอน) และใช่แน่นอนว่า เหล่า CPA สามารถพิมพ์สาวตัวอักษรนี้ต่อชื่อคุณในนามบัตร, ท้ายอีเมลล์ หรือในทุกๆที่ที่มีชื่อคุณไปโผล่ โคตรเท่เลยเนอะ นึกดูสิครับผมยื่นนามบัตรให้ครูอนุบาล ระหว่างทางเดินไปหาลูกที่โรงเรียนแล้วมีคำว่า CPA ต่อท้าย ...คุณครูยิ้มปริ และคงมีความคิดว่าคุณนี่เจ๋งจริงๆสำหรับ Certified Papa Accountant ..ไม่ใช่ว้อย
อันดับสาม เพิ่มดีกรีให้การทำงานในตัวคุณ ในมิติ Mobility & Career Prospect ซึงผมมองว่าการได้มาซึ่ง CPA จะทำให้คุณมีดีกรีในการทำงานที่เป็นที่ยอมรับเลยล่ะ เพราะมันเหมือนกับการที่ถ้าเรามีความสามารถ แต่เราไม่มีอะไรมาพิสูจน์ คนที่ไม่รู้จักคุณที่ไหนจะมาเชื่อ (อันนี้ผมพูดตามเบสิคสุดๆ สามาัญชนทั่วไปนะ) และพอคุณได้มาซึ่ง CPA มันก็อารมณ์ว่า การันตี ความสามารถระดับหนึ่งและมานะ วิระยะ ของออดิทคนนั้นๆ ว่าเจ๋งระดับนึงเลย และที่สำคัญคุณสามารถโยกย้ายงาน หรือเลือกสมัครงานที่ใหม่ๆได้ โดยสามารถถูกเรียกสัมภาษณ์ รวดเร็วกว่า ผู้สมัครระดับเดียวกันที่ไม่มี CPA นะ (ผมถามมาจาก HR นะ ไม่ได้คิดเอง) และงานที่ว่ามันไม่ใช่แค่ในประเทศ เพราะทุกประเทศบนโลกที่มีภาคธุรกิจที่สตรอง ฝรั่งเหล่านั้นรู้จัก CPA แน่นอนครับ เพราะบ้านเค้าก็มีเหมือนกันน่ะสิ! (CPA จะทำงานข้ามประเทศไม่ได้นะครับ เพราะเราใช้มาตรฐานต่างกัน และในบางประเทศเช่น อเมริกา CPA จะแบ่งแยกตาม รัฐ ครับ แต่คนไทยสามารถไปสอบเพื่อเป็นCPA ในหลายๆประเทศได้ เช่น อเมริกา ออสเตรเลีย บอกไว้เผื่ออยากรู้วว วู้วว วู้วว)
อันดับสี่ รายได้ที่ค่อนข้างดี! จากข้อบนๆได้กล่าวไปแล้วถึงรายได้ที่สวยงามของเหล่า พาทเนอร์ แต่อย่างไรก็ตามความจริงแล้วมีคนเพียงหยิบมือครับที่จะ อดทน และมีความสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ใน Big4 ได้จนถึงระดับนั้น แต่ยังไงก็นะ ในตำแหน่งรองๆลงมาก็ยังถือว่า เป็นอาชีพที่มีอัตราการ จ่ายตังค์ที่สูงงง เพราะออดิทเพิ่มเงินเดือนกันที เรียกได้ว่าเพื่อนคุณอิจฉาแน่นอน หรือถ้าคุณลาออกมาตั้งบริษัทรับตรวจสอบบัญชีเอง คุณจะกลายเป็นพาทเนอร์ด้วยตัวคุณเอง อย่างทันท่วงที แล้วรายได้ค่าตรวจสอบจะไปไหนได้ล่ะครับ แหม่
อันดับห้า สุดท้ายละนะ คุณจะได้มาซึ่งความน่าเชื่อถือ (A Position of TRUST) ซึ่งมันก็แน่นอนเพราะงานออดิท ต้องรับรองงบการเงิน รวมถึงข้อมูลต่างๆที่ลูกค้าจัดทำขึ้น ว่ามันโอเค หรือมีอะไรที่จะต้องบอกกล่าวผู้ใช้ข้อมูลนั้นหรือไม่ งานการตรวจสอบนี้จะไม่เพียงแต่แค่งบการเงินนะครับ Big4 บางที่เรียกงานออดิทนี้ว่า Assurance ซึ่งคือการให้ความเชื่อมั่น เห็นมั้ยครับว่ามันกว้างกว่าแค่การตรวจงบการเงิน ตัวอย่างน่ะหรอเช่น ปีที่แล้วกรุงเทพเรามีการจัดงานปั่นจักรยาน คุ้นๆมั้ยครับ บริษัทเหล่านี้ก็ได้รับการว่าจ้างประมาณว่า เออยูวๆ มาช่วยไอคอนเฟิมหน่อยว่า ไอนับจำนวนคนมาปั่นจักรยานถูกต้องป่าว เดี๋ยวไอจะเอาไปลงกินเนสบุ๊ค อะไรประมาณนี้ นั่นแหละครับ ถึงบอกว่า CPAจะทำให้ข้อมูลต่างๆ ดูสตรองขึ้นมาและส่งผลไปยัง CPA เหล่านั้นให้มีภาพลักษณ์ที่ เวรี่เรสเปค นั่นเอง
นั่นแหละครับทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา จะเป็นภาพในแง่ สว่าง ของการทำงานออดิท ที่ผมอยากนำมาแชร์ว่ามันไม่ได้แย่ไปกว่าด้าน ดาร์คๆ ที่หลายๆคนชอบโพสต์ในเฟซบุ๊ค หรือเพื่อนคุณชอบมาบ่นให้ฟังว่ามันทรหดแค่ไหน งานนี้ถือเป็นงานวิชาชีพซึ่งไม่ใช่ใครไหนมานั่งแล้วทำเป็นนะครับ นอกจากเรามีมาตรฐานที่เป็นตัวบทกฏหมายให้เดินตาม สิ่งสำคัญของวิชาชีพนี้คือ จรรยาบรรณ ที่ออดิททุกคนจะตอกหมุดฝังลงไปในใจ เช่นการรักษาความลับของลูกค้า, การรับผิดชอบต่องานให้เสร็จแม้จะลำบากหรือ การอัพเดทความรู้เชิงวิชาการให้ใหม่ตลอดเว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ด้านดาร์ค ๆ ในการเป็น ออดิทหรือCPA มันก็มีครับ และผมเชื่ออย่าง"สมเหตุสมผล" (ศัพท์ที่ชาวออดิทใช้กัน) ว่าความดาร์คมันมีในทุกอาชีพ ทุกๆระดับงานไม่ว่าจะพนักงานปกติ หรือผู้บริหารชั้นฟ้า แต่สิ่งที่ จะพยุง ดึงรั้ง ให้เราเดินต่อในสายงานเราได้อย่างมีประสิทธิภาพเนี่ย อันดับแรกคุณต้อง ..ศรัทธา.. ในงานคุณก่อนครับ(ตัวผมนะ คนอื่นไม่รู้เป็นไง) เพราะพอคุณศรัทธาแล้ว ไม่ว่าจะดาร์คแค่ไหน ปัญหามะรุมมะตุ้มขนาดไหน เราจะเอาตัวรอดได้ และ Solution มาจะตามมาเสมอๆ
ขอบคุณมากเหลือเกินครับที่ติดตามอ่าน
Cr.mocca_oreo