178 อาคารธรรมนิติ ชั้น 6-7 ซอยเพิ่มทรัพย์ (ประชาชื่น20) ถนนประชาชื่น แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800

ข่าวสารวิชาชีพ

คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ทำบัญชีตามประกาศฉบับใหม่ปี 2568



คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ทำบัญชีตามประกาศฉบับใหม่ปี 2568
 

คุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี ถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 โดยกระทรวงพาณิชย์มีการปรับปรุงคุณสมบัติและเงื่อนไขมาแล้วจำนวน 7 ฉบับ แต่เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายและหลักการที่เกี่ยวข้องกับผู้ทำบัญชีมีหลายประการที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้บทบัญญัติต่างๆที่เคยประกาศไว้ไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้าในการจัดทำบัญชี กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงได้ปรับปรุงแก้ไขประกาศที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีให้ทันสมัย เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 โดยมีการปรับปรุงที่สำคัญ ดังนี
 

ประกาศฉบับปัจจุบัน

ประกาศฉบับร่าง (ใหม่)

คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี

1. มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร

1. ไม่เปลี่ยนแปลง

2. มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้

2. ไม่เปลี่ยนแปลง

3. มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมาย ว่าด้วยวิชาชีพบัญชี

3. เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547

4. ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเนื่องจากกระทำความผิดตามฐานความผิดหรือกฎหมายที่กำหนดในมาตรา 39(3) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เว้นแต่ต้องคำพิพากษาหรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

4. ไม่เปลี่ยนแปลง

5. มีคุณวุฒิการศึกษา ไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า

5. ไม่เปลี่ยนแปลง

 

6. เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด ผ่านระบบ e-Learning ตามขอบเขตหลักสูตรที่กำหนด และผ่านการทดสอบที่เกณฑ์ระดับ ร้อยละ 60

เงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี

1. ต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547

1. ไม่เปลี่ยนแปลง

2. รับทำบัญชีได้ไม่เกิน 100 ราย ต่อปีปฏิทินไม่ว่าจะเป็นการรับทำบัญชีในรอบบัญชีใดก็ตาม

2. รับทำบัญชีได้ไม่เกิน 100 งบการเงินต่อปีปฏิทิน

3. แจ้งรายละเอียดการทำบัญชี ทางเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มทำบัญชี

3. แจ้งรายละเอียดการทำบัญชี ทางเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับทำบัญชี

4. ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกรายการที่แจ้งไว้ ต้องแจ้งทางเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก

4. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ทำบัญชีหรือการเปลี่ยนแปลงการทำบัญชี ต้องแจ้งทางเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับทำบัญชีหรือวันที่ยกเลิกรับทำบัญชีให้แก่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีนั้น

5. ยืนยันรายชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชี และสถานภาพการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีทางเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปีปฏิทิน

5. ยืนยันการเป็นผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ทางเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก่อนที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

6. การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD)

    ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน โดยมีเนื้อหาทางบัญชีไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

 

    แจ้งชั่วโมง CPD ได้ทันทีหลังการทำกิจกรรมแต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปี (ภายในวันที่ 30 มกราคม ของปีถัดไป) และต้องเก็บหลักฐานเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันสิ้นสุดของการทำกิจกรรมในแต่ละครั้ง

    ผู้ทำบัญชีที่แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับปีแรกและมีระยะเวลาที่เหลือหลังการแจ้งในปีนั้นน้อยกว่า 6 เดือน ให้เริ่มพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีในปีถัดไป

    ผู้ทำบัญชีใดไม่เข้ารับการพัฒนาความรู้ฯ หรือเข้ารับการพัฒนาความรู้ฯไม่ครบตามที่กำหนดต้องถูกเปรียบเทียบตามกฎหมายและต้องพัฒนาความรู้ฯให้ครบจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไป แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ ไม่นับรวมจำนวนชั่วโมงในปีปัจจุบัน

 

    ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน โดยมีเนื้อหาทางบัญชีไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และมีเนื้อหาเกี่ยวกับจรรยาบรรณไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง

    แจ้งชั่วโมง CPD ได้ทันทีหลังการทำกิจกรรมแต่ไม่เกินวันสุดท้ายของปีปฏิทิน (วันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่อบรม)

 

 

    ผู้ทำบัญชีที่แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับปีแรกและมีระยะเวลาที่เหลือหลังการแจ้งในปีนั้นน้อยกว่า 3 เดือน ให้เริ่มพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีในปีถัดไป

    ผู้ทำบัญชีใดไม่เข้ารับการพัฒนาความรู้ฯ หรือเข้ารับการพัฒนาความรู้ฯไม่ครบตามที่กำหนด ต้องถูกเปรียบเทียบตามกฎหมายและต้องพัฒนาความรู้ฯ ให้ครบจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไป แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 12 ชั่วโมง โดยต้องเป็นด้านบัญชีทั้งหมด โดยนำมารวมเพิ่มจากจำนวนชั่วโมงที่ต้องพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีในปีปัจจุบัน และต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคมของปีปัจจุบัน

 

 

    ผู้ทำบัญชีใดไม่ประสงค์จะเป็นผู้ทำบัญชีแล้ว ให้แจ้งยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งนี้ จะถือวันที่ผู้ทำบัญชีแจ้งยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชี เป็นวันสิ้นสุดการเป็นผู้ทำบัญชี

7. ผู้ทำบัญชีที่ยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชี และขอกลับมาเป็นผู้ทำบัญชีใหม่ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี ให้ครบจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไปก่อนการยกเลิก แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง

7. ผู้ทำบัญชีใดยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชีแล้ว หากประสงค์ขอกลับมาเป็นผู้ทำบัญชีใหม่ ต้องมีคุณสมบัติของผู้ทำบัญชี (การเป็นสมาชิกสภาฯ รวมถึงต้องอบรมและผ่านการทดสอบตามหลักสูตรที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด) และให้แจ้งรายละเอียดการเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

    กรณีผู้ทำบัญชีที่แจ้งยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชีและมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องไม่ครบตามกฎหมายกำหนด จะต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องชดเชยให้ครบจำนวนชั่วโมงที่ขาดหายไปก่อน โดยชั่วโมงที่ต้องชดเชยเมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 12 ชั่วโมง และต้องเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบัญชีทั้งหมด และเป็นชั่วโมงที่พัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีมาแล้วไม่เกิน 1 ปีก่อนปีที่แจ้งขอกลับ พร้อมแนบหลักฐานดังกล่าวประกอบการแจ้งขอกลับมาเป็นผู้ทำบัญชี

    เว้นแต่ ผู้ทำบัญชีที่แจ้งยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชีภายในเดือนแรกของปีปฏิทิน ไม่ต้องพัฒนาความรู้ต่อเนื่องของปีที่แจ้งยกเลิก

 

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ทำบัญชีฉบับใหม่ในปี 2568 มีทั้งการปรับถ้อยคำ เปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระให้ชัดเจนขึ้น และเพิ่มเติมข้อบังคับขึ้นใหม่ ซึ่งการเพิ่มเติมข้อบังคับใหม่ที่สำคัญคือ ผู้ทำบัญชีที่จะยื่นเป็นผู้ทำบัญชีใหม่หรือจะขอกลับเป็นผู้ทำบัญชีอีกครั้ง ต้องเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด ผ่านระบบ e-Learning ตามขอบเขตหลักสูตรที่กำหนด และผ่านการทดสอบที่เกณฑ์ระดับ ร้อยละ 60 แต่ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ของประกาศฉบับใหม่นี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

แต่อย่างไรก็ตาม กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศฉบับใหม่นี้ ซึ่งได้เสร็จสิ้นแล้วในเดือนกรกฎาคม 2567 ซึ่งประกาศฉบับนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาสาระได้ในบางส่วน โดยทีมงานจะนำมาสรุปการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาข้อบังคับที่สำคัญให้ทุกท่านทราบอีกครั้งหนึ่ง

ที่มา : https://www.dbd.go.th/law/2424

 

ผู้เขียน : คุณมาริสา อาศรมศิลป บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด

Transparency Report

Read our 2024 Transparency Report

transparency

เกี่ยวกับเรา

บริษัทรับตรวจสอบบัญชี ให้บริการด้วยนักวิชาอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบและการบริการให้ความเชื่อมั่นอื่น

Privacy Notice | Cookie Policy

etax