178 อาคารธรรมนิติ ชั้น 6-7 ซอยเพิ่มทรัพย์ (ประชาชื่น20) ถนนประชาชื่น แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800

ข่าวสารวิชาชีพ

สินทรัพย์ดิจิทัล

สินทรัพย์ดิจิทัล

สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets) เป็นสิ่งที่เราได้พบเจอในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น และเป็นสิ่งใหม่ที่นักบัญชีต้องมีการรับมือให้เข้าใจถึงขอบเขต การรับรู้รายการ การวัดมูลค่า และการเปิดเผยข้อมูล

โดยสิ่งที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ประกอบด้วย

(1) การทำความเข้าใจพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561

(2) การทำความเข้าใจตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

การทำความเข้าใจพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561

พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561) เป็นกฎหมายภายใต้การกับดูแลของ ก.ล.ต. เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน ลดความเสี่ยงจากการถูกหลอกหรือถูกเอาเปรียบ สร้างความชัดเจนในการกำกับดูแลให้ผู้ที่ต้องการใช้เครื่องมือนี้โดยสุจริตสามารถทำได้ และป้องกันการฟอกเงินหรือใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในทำงานไม่สุจริต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแลเรื่อง

(1) การระดมทุนต่อประชาชนผ่านการเสนอขายโทเคนดิจิทัล

(2) การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

(3) การดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล

ทั้งนี้ พ.ร.ก. ฉบับนี้ กำหนดให้สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets) หมายความว่า (1) คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และ (2) โทเคนดิจิทัล (Digital Token) โดยให้คำนิยามไว้ดังนี้

 

สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets)

คริปโทเคอร์เรนซี(Cryptocurrency)

โทเคนดิจิทัล (Digital Token)

คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีความประสงค์ที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลและหมายความรวมถึงหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่น ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดเพิ่มเติม

         โดยตัวอย่างของคริปโทเคอร์เรนซีที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น บิทคอยน์ (Bitcoin) เป็นต้น

คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่

 - โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกำหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใดๆ เช่น SIRI Hub Token เป็นต้น

 - โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) คือหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าบริการ หรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง เช่น BinanceCoin (BNB), Bitkub (KUB) เป็นต้น

 

            ทั้งนี้ตามที่กำหนดในข้อตกลงระหว่างผู้ออกและผู้ถือและหมายความรวมถึงหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดเพิ่มเติม

 

 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ออกประกาศกำหนดให้คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ที่ผู้ออกมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนจากประชาชนและมีการกำหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ หรือมีการกำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใด ๆ ถือเป็นโทเคนดิจิทัล (Digital Token) ด้วย 

การระดมทุนต่อประชาชนผ่านการเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO)

ICO หรือชื่อเต็มคือ Initial Coin Offering คือการระดมทุนแบบดิจิทัลด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัล ผ่านระบบบล็อกเชนต่อสาธารณชน โดยผู้ระดมทุนจะเป็นผู้ออกโทเคนดิจิทัล มาแลกกับเงินดิจิทัล (cryptocurrency) การระดมทุนด้วย ICO สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

- ผู้ระดมทุนกระทำได้เฉพาะนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด

- ผู้ระดมทุนต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.

- ผู้ระดมทุนต้องมีการจัดทำมีแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัล และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับแล้ว

- ต้องเสนอขายผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. เท่านั้น

- รับคริปโทเคอร์เรนซีจากธุรกิจสินทรัพย์ดิจิตอลที่ได้รับอนุญาต

- ผู้ลงทุนต้องมีคุณสมบัติและวงเงินลงทุนได้ตามที่กำหนด

 การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ในปัจจุบันมีอยู่ 5 ประเภททั้งการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี และ โทเคนดิจิทัล ได้แก่

(1) ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange) คือ ศูนย์กลางหรือเครือข่ายใด ๆ ที่จัดให้มีขึ้นเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล โดยการจับคู่หรือหาคู่สัญญาให้ หรือการจัดระบบหรืออำนวยความสะดวกให้ผู้ซึ่งประสงค์จะซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถทำความตกลงหรือจับคู่กันได้โดยกระทำเป็นทางค้าปกติ แต่ทั้งนี้ไม่รวมศูนย์กลางหรือเครือข่ายในลักษณะที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด

(2) นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Broker) คือ บุคคลซึ่งให้บริการหรือแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะให้บริการเป็นนายหน้าหรือตัวแทน เพื่อซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลให้แก่บุคคลอื่นโดยกระทำเป็นทางค้าปกติและได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น แต่ไม่รวมถึงการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนในลักษณะที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด

(3) ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Dealer) คือ บุคคลซึ่งให้บริการหรือแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะให้บริการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลในนามของตนเองเป็นทางค้าปกติ โดยกระทำนอกศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ไม่รวมถึงการให้บริการในลักษณะตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด

(4) ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล (investment advisor) และ (5) ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (fund manager) ต้องได้รับใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนด

การดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล

ผู้ที่จะสามารถประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลข้างต้นได้ จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ซึ่งในการยื่นขออนุญาตและการพิจารณาอนุญาต เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมถึงเสียค่าธรรมเนียมตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ซึ่งในการพิจารณาอนุญาต รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องปฏิบัติด้วย ทั้งนี้ผู้ที่จะประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเพียงประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทได้ภายหลังจากได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (“ผู้ประกอบธุรกิจฯ”) มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ภายใต้ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ และกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนดโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ด้วย

การทำความเข้าใจตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 กำหนดให้การจัดทำบัญชีต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี แต่ไม่มีมาตรฐานการบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลโดยตรงนั้น สภาวิชาชีพบัญชีได้ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการบัญชีที่รองรับสินทรัพย์ดิจิทัลโดยอ้างอิงจาก Agenda Decision (AD) ของ IASB เปรียบเสมือนข้อหารือเกี่ยวกับมาตรฐานบัญชี ซึ่งได้ให้แนวทางนำสำหรับกิจการผู้จัดทำงบการเงินในประเทศไทย สามารถประยุกต์ใช้แนวทางนี้ ในการรับรู้รายการ การวัดมูลค่า และการเปิดเผยข้อมูล ดังนี้

คำนิยามของคริปโทเคอร์เรนซี IASB ต้องมีลักษณะทุกข้อดังต่อไปนี้เท่านั้น

(1) เป็นสกุลเงินดิจิทัลหรือสกุลเงินเสมือนซึ่งถูกบันทึกอยู่บนการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ที่ใช้วิทยาการเข้ารหัสลับเพื่อความปลอดภัย

(2) ต้องไม่ได้ออกโดยหน่วยงานกำกับดูแลหรือหน่วยงานอื่น

(3) ต้องไม่ได้ก่อให้เกิดสัญญาระหว่างผู้ถือกับอีกฝ่ายหนึ่ง **คริปโทเคอร์เรนซีตามลักษณะข้างต้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงสินทรัพย์ดิจิทัลที่นิยามไว้ในพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ดังนั้นผู้ถือสินทรัพย์ดิจิทัลจึงควรวิเคราะห์ลักษณะและเงื่อนไขของสินทรัพย์ดิจิทัลว่ามีลักษณะข้างต้นหรือไม่ก่อนประยุกต์ใช้แนวทางใน Agenda Decision ฉบับนี้

ตามที่ IASB ไม่ได้มีการออกมาตรฐานใหม่ออกมาสำหรับคริปโทเคอร์เรนซี เนื่องจากมาตรฐานเดิมครอบคลุมอยู่แล้ว จึงมีการเปรียบเทียบว่าคริปโทเคอร์เรนซีเข้านิยามของมาตรฐานฉบับใด ดังนี้

คริปโทเคอร์เรนซีที่ถือเป็นรายการ “สินทรัพย์ไม่มีตัวตน” ตาม IAS38 ต้องมีลักษณะทุกข้อดังต่อไปนี้เท่านั้น

(1) สามารถแยกเป็นเอกเทศได้จากผู้ถือ และสามารถขายหรือโอนได้โดยเอกเทศ

(2) ไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้ถือที่จะได้รับจำนวนเงินที่กำหนดได้แน่นอนหรือจำนวนเงินที่สามารถทราบได้ในจำนวนหน่วยของสกุลเงิน (ไม่เป็นจำนวนเงิน)

(3) ไม่มีลักษณะทางกายภาพ

คริปโทเคอร์เรนซีไม่ถือเป็นรายการ “เงินสด” หรือ “สินทรัพย์ทางการเงิน”ตาม IAS 32 เป็นไปตามทุกข้อดังนี้

(1) ไม่มีลักษณะของ “เงินสด” เนื่องจากไม่เข้านิยามเงินสด จากการที่ไม่สามารถนำมาใช้ในการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ และใช้เป็นหน่วยเงินตราในการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการในการวัดมูลค่าและรับรู้รายการทั้งหมดในงบการเงินได้

(2) ไม่ถือเป็นรายการ ”สินทรัพย์ทางการเงิน” เนื่องจากไม่เข้านิยามตราสารทุนของกิจการอื่น รวมถึงไม่ได้ทำให้เกิดสิทธิตามสัญญาแก่ผู้ถือ และไม่ใช่สัญญาที่จะหรืออาจจะชำระด้วยตราสารทุนของผู้ถือ

เนื่องจาก IAS38 ไม่ได้ครอบคลุมถึงสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ไปอยู่ในมาตรฐานเฉพาะเรื่องนั้น ๆ เช่น สินทรัพย์ทางการเงิน เป็นต้น และจากข้อมูลข้างต้นคริปโทเคอร์เรนซีไม่เข้านิยามของสินทรัพย์ทางการเงิน จึงต้องกลับมาใช้นิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เว้นแต่มีวัตถุประสงค์ถือไว้เพื่อขายให้จะเข้านิยามสินค้าคงเหลือ ตาม IAS 2

การพิจารณามาตรฐานการรายงานทางการเงิน ต้องพิจารณาควบคู่กับวัตถุประสงค์ในการถือสินทรัพย์ดิจิทัลประกอบด้วย ดังนี้ 

PAEs

คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และ โทเคนดิจิทัล (Digital Token)

ความสัมพันธ์ทางสัญญา

ไม่มีสัญญา

 

สัญญาจ่ายเงิน/สินทรัพย์ทางการเงิน ที่มีสิทธิจะได้รับเงินปันผลหรือส่วนได้เสียในมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์

มีสิทธิ์ที่จะได้รับสินค้าหรือบริการ

 

ประเภทสินทรัพย์ดิจิทัล

Cryptocurrency = BTC (Bitcoin), ETH (Ethereum)

 

มีสินทรัพย์หนุนหลัง (Cryptocurrency Stable Coin) = USDT

 

โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token ) = SIRIHUB, DESTINY TOKEN

 

โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token)

= JFIN COIN

วัตถุประสงค์

ลงทุนถือครองเพื่อขาย

ลงทุนไม่ได้ถือครองไว้เพื่อขาย

เพื่อระดมทุน

เพื่ออุปโภค/บริโภค

เพื่อลงทุน

เข้านิยาม

สินค้าคงเหลือ (TAS2)

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (TAS 38)

สินทรัพย์ทางการเงิน (TFRS9

เงินจ่ายล่วงหน้า (Prepayment)

 

 

 

 

เป็นไปตามการรับรู้รายการของคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency

หนี้สินทางการเงิน

ตราสารทุน

การวัดมูลค่า

ราคาทุน (Cost) หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (NRV) แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า

(เว้นแต่กิจการทำหน้าที่เป็นนายหน้าผู้ค้าสินค้าโภคภัณฑ์ ต้องวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย) (Fair Value less Cost to Sell)

- วิธีราคาทุนหักด้อยค่า

(Cost less impairment)

- วิธีการตีราคาใหม่ (Revaluation - FVOCI non-recycling)

 

- วิธีราคาทุนตัดจำหน่าย(Amortized cost/FVOCI (SPPI test))

- วิธีมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน (FVPL)

 

- วิธีมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน (FVPL)

- วิธีมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (FVOCI)

 

ราคาทุน (Cost)

 

การเปิดเผยข้อมูล

ตาม TAS2

ตาม TAS38

ตาม TFRS9

 

 

NPAEs

คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และ โทเคนดิจิทัล (Digital Token)

ความสัมพันธ์ทางสัญญา

ไม่มีสัญญา

 

สัญญาจ่ายเงิน/สินทรัพย์ทางการเงิน ที่มีสิทธิจะได้รับเงินปันผลหรือส่วนได้เสียในมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์

มีสิทธิ์ที่จะได้รับสินค้าหรือบริการ

 

ประเภทสินทรัพย์ดิจิทัล

Cryptocurrency = BTC (Bitcoin), ETH (Ethereum)

 

มีสินทรัพย์หนุนหลัง (Cryptocurrency Stable Coin) = USDT

 

โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token ) = SIRIHUB, DESTINY TOKEN

 

โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token)

= JFIN COIN

วัตถุประสงค์

ลงทุนถือครองเพื่อขาย

ลงทุนไม่ได้ถือครองไว้เพื่อขาย

เพื่อระดมทุน

เพื่ออุปโภค/บริโภค

เพื่อลงทุน

เข้านิยาม

สินค้าคงเหลือ

(TFRS for NPAEs บทที่ 8)

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (TFRS for NPAEs บทที่ 3 และบทที่ 11)

เงินลงทุน (TFRS for NPAEs บทที่ 9)

เงินจ่ายล่วงหน้า (Prepayment)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เป็นไปตามการรับรู้รายการของคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency

ตราสารหนี้

ตราสารทุน

การวัดมูลค่า

ราคาทุน (Cost) หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (NRV) แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรณีสูงกว่าราคาทุน : ไม่บันทึกบัญชี

กรณีตำกว่าราคาทุน : ขาดทุนจากการวัดมูลค่า(NRV)(PL)

 

วิธีราคาทุน (Cost)

(เนื่องด้วยมีลักษณะที่พิเศษกว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นๆ รวมถึงมีอายุการให้ประโยชน์ที่ไม่สามารถทราบได้แน่นอน

กิจการต้องพิจารณาลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลในงบการเงิน ตลอดจนพิจารณาการลดลงของมูลค่าของสินทรัพย์ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักความระมัดระวังประกอบด้วย)

 

กรณีสูงกว่าราคาทุน : ไม่บันทึกบัญชี

กรณีตำกว่าราคาทุน : ขาดทุนจากการด้อยค่า (PL

-  ตราสารหนี้ที่ตั้งใจถือจนครบกำหนดและตราสารหนี้ที่ไม่ได้อยู่ในความต้องการของตลาด วัดมูลค่าด้วยวิธีราคาทุนตัดจำหน่าย (Amortized cost)

-  ตราสารหนี้ที่ไอยู่ในความต้องการของตลาดวิธีมูลค่ายุติธรรม เพื่อค้าผ่านกำไรขาดทุน และเผื่อขายไปยังส่วนของเจ้าของ

 

- หลักทรัพย์เพื่อค้ามูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุน

- หลักทรัพย์เผื่อขายมูลค่ายุติธรรมไปยังส่วนของเจ้าของ

 

ราคาทุน (Cost)

 

การเปิดเผยข้อมูล

TFRS for NPAEs

ย่อหน้าที่ 103 ของบทที่ 8

1. นโยบายการบัญชีในการวัดมูลค่ารายการ

2. ข้อบ่งชี้ว่ามีมูลค่าลดลงอย่างถาวร (ถ้ามี

TFRS for NPAEs

ย่อหน้าที่ 122 ของบทที่ 9

 

 

 

อ้างอิง

เข้าถึงวันที่ 16/9/2565

1. e-Magazine ฉบับที่ 120 เดือนมีนาคม 2565 DBD Accounting (http://magazine.dbd.go.th/admin/readebook/M65083)

2. คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับการถือครองคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrencies) สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) - สภาวิชาชีพบัญชี

(https://acpro-std.tfac.or.th/test_std/uploads/files/Q%E0%B8%BFA_Crypto_NPAEs.pdf)

3. รู้เขา รู้ระวัง รู้เท่าทัน สินทรัพย์ดิจิทัล – ก.ล.ต.

https://www.sec.or.th/TH/Documents/DigitalAsset/DigitalAssetInvestment-Guide.pdf

4. การเสวนา ภาพรวมการตรวจสอบงบการเงินที่มีสินทรัพย์ดิจิทัล (Facebook Live สภาวิชาชีพบัญชี) https://www.facebook.com/events/2208213125999962/?acontext=%7B%22ref%22%3A%2252%22%2C%22action_history%22%3A%22[%7B%5C%22surface%5C%22%3A%5C%22share_link%5C%22%2C%5C%22mechanism%5C%22%3A%5C%22share_link%5C%22%2C%5C%22extra_data%5C%22%3A%7B%5C%22invite_link_id%5C%22%3A392767892367276%7D%7D]%22%7D และ https://www.tfac.or.th/upload/9414/WWozPuwFe4.pdf

5. คุยสบายๆ รายการบัญชี และกรณีตัวอย่างข้อผิดพลาด และรายการผิดปกติในงบการเงิน รุ่นที่ 2/2565 - สภาวิชาชีพบัญชี https://www.tfac.or.th/upload/9414/4h9WsP2C6u.pdf

Transparency Report

Read our 2024 Transparency Report

transparency

เกี่ยวกับเรา

บริษัทรับตรวจสอบบัญชี ให้บริการด้วยนักวิชาอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบและการบริการให้ความเชื่อมั่นอื่น

Privacy Notice | Cookie Policy

etax